หัว (หา) เรื่อง
ชื่อชุมชน : ชุมชนสรรค์สร้างคลังปัญญา
วิสัยทัศน์ : วิเคราะห์รวดเร็ว ค้นสะดวก เข้าถึงง่าย
หัวเรื่อง (Subject headings) คือคำหรือวลี (กลุ่มคำ) หรือวิสามานยนาม สามานยนามต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นใช้แทนเนื้อเรื่องของหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ตลอดจนวัสดุการศึกษาทุกชนิด เพื่อใช้เป็นจุดเข้าถึงรายการบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ และวัสดุการศึกษาดังกล่าว??ที่มีเนื้อเรื่องอย่างเดียวกัน (ทองหยด ประทุมวงศ์, 2521, หน้า 1; อัมพร ทีขะระ, 2533, หน้า 399; A.L.A, 1983, p. 220)
กลวิธีการกำหนดหัวเรื่อง
หลักทั่วๆ ไป ในการกำหนดหัวเรื่อง ต้องพิจารณาถึงหัวข้อต่อไปนี้ (Haykin อ้างถึงใน Wynar, 1972 p. 7-11) ประกอบ
- ประเภทและขนาดของหัวเรื่อง
- ผู้ใช้ห้องสมุด
- ภาษาที่ใช้
- ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของหัวเรื่อง
- หัวเรื่องที่เฉพาะเจาะจง
ประเภทของหัวเรื่อง มี 2 ประเภท (พวา พันธุเมฆา, 2549, หน้า 6) คือ
1. หัวเรื่องใหญ่/ หัวเรื่องเฉพาะ คือหัวเรื่องที่นำมาใช้ได้เลย? หรืออาจจะมีหัวเรื่องย่อยประกอบเพื่อความชัดเจนมากขึ้น
2. หัวเรื่องย่อย คือหัวเรื่องที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เลย? ต้องใช้ตามหัวเรื่องใหญ่เสมอ
เทคนิคและวิธีการกำหนดหัวเรื่อง
บรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์เลขหมู่และทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ อาจมีเทคนิค และวิธีการกำหนดหัวเรื่องต่างกันออกไป ซึ่งสรุปได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ โดยการอ่านเนื้อหาของหนังสืออย่างคร่าวๆ และพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ประกอบ เช่น สาระสังเขป (ถ้ามี) ชื่อเรื่อง หน้าปกใน คำนำ สารบาญ บทนำ
2. คิดคำหรือวลีที่ตรงและเหมาะสมกับเนื้อหาของหนังสือให้มากที่สุด นำมากำหนดเป็นหัวเรื่อง
3. เปิดหาคำนั้น ๆ ในคู่มือการกำหนดหัวเรื่องที่ห้องสมุดใช้ได้แก่ หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย และ Library of Congress Subject Headings สำหรับภาษาอังกฤษ และฐานข้อมูลหัวเรื่อง Red-Demmo หนังสือหัวเรื่องจากรายงานการวิจัย ที่รวบรวมหัวเรื่องเฉพาะ สาขาวิชา เช่นหัวเรื่องทางด้านพุทธศาสนา วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น
4. ?ถ้าหาคำ/วลีที่ต้องการในคู่มือการกำหนดหัวเรื่องไม่พบ ให้นึกถึงคำที่ใกล้เคียงกับเนื้อหามาก????? ที่สุด เช่น บทความวารสาร ในคู่มือไม่มี แต่ให้ใช้คำว่า วารสาร แทน
5. ?ในกรณีที่คำ/วลีที่จะกำหนดเป็นหัวเรื่องนั้นเป็นคำที่ปัจจุบันใช้กันแพร่หลาย และไม่มีในคู่มือ ให้นำหัวเรื่องนั้นไปเสนอแก่ผู้แทนของฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ ที่เป็นคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (คุณวีระวรรณ ?พราพงษ์?และคุณศิริพรรณ วัฒนกูล) เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมพิจารณาต่อไป (หรือหากรู้คำในภาษาอังกฤษให้ตรวจสอบจาก OhioLINK Central Catalog menuและสามารถนำหัวเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นเสนอแก่ผู้แทน เพื่อเข้าที่ประชุม กำหนดให้เป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่องในภาษาไทยได้เช่นกัน)
6. ?คำ/วลีที่จะกำหนดเป็นหัวเรื่องนั้นเป็นคำเฉพาะไม่มีในคู่มือ สามารถแปลจาก พจนานุกรมเฉพาะวิชาศัพท์เทคนิคของแต่ละสาขาวิชา แล้วนำเสนอแก่ผู้แทนของฝ่ายฯ ที่เป็นคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ฯ เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมพิจารณาต่อไป
7. ?สำหรับหัวเรื่องภาษาอังกฤษ เราสามารถเข้าไปตรวจสอบกับห้องสมุดต่างประเทศ??จาก OhioLINK Central Catalog menu เพื่อตรวจดูว่าหัวเรื่องนี้ใช้ได้หรือไม่ หรือมีหัวเรื่องใกล้เคียงอื่น ๆ
8. ?เมื่อบันทึกหัวเรื่องลงในฐานข้อมูลแล้ว ให้ทำการ Verified อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าหัวเรื่องที่กำหนดนั้น เคยมีใช้แล้วหรือยังในฐานข้อมูล และป้องกันการพิมพ์หัวเรื่องผิดพลาด
9.? หัวเรื่องที่ได้มานั้น ต้องสัมพันธ์กับเลขหมู่หนังสือที่จัดตามระบบ L.C. ยกเว้น เลขหมู่ของสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษและสื่อเสริมการศึกษา ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นใช้เอง
10.? หนังสือ 1 ชื่อเรื่อง ควรกำหนดหัวเรื่องให้มีมากกว่า 1 หัวเรื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีช่องทางในการสืบค้นทรัพยากรได้มากที่สุดตามต้องการ
11. ?ไม่ควรกำหนดหัวเรื่องที่กว้างเกินไป เช่น ?การศึกษา? (สุภาพร ดุษฎีพฤติพันธุ์, 2535, หน้า 272)
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นการกำหนดหัวเรื่องสำหรับหนังสือทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่ซับซ้อนยุ่งยากมากนัก แต่ยังมีหัวเรื่องเพิ่มที่เป็นชนิดชื่อบุคคล นิติบุคคล การประชุม ชื่อการประชุมทางวิชาการ นิทรรศการ ?งานแสดงสินค้า เทศกาล การแข่งขันกีฬา หัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ฯลฯ ซึ่งหัวเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร โดยเฉพาะหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม? ของสถานที่ ชื่อที่บรรณารักษ์ควรจะทราบ โดยจะนำเทคนิคต่าง ๆ หรือสิ่งที่ควรทราบ มานำเสนอให้ทราบต่อไป
บรรณานุกรม
ทองหยด ประทุมวงศ์. (2521). หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทยของห้องสมุด
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวา พันธุ์เมฆา. (2549). หัวเรื่องภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์.
สุภาพร ดุษฎีพฤฒิพันธ์. (2535). การทำบัตรรายการหนังสือตามหลักเกณฑ์ AACR 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ทีขะระ. (2533). การให้หัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ในการวิเคราะห์สารนิเทศ ใน เอกสารการสอนชุด
วิชาการวิเคราะห์สารนิเทศ, (หน้า 336-386). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
American Library Association. (1983.) The ALA glossary of library and information service.
Chicago: Author.
Wynar, S. (1972). Introduction to cataloging and classification. Littleton, CO: Libraries
Unlimited.
ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ
ชุมชน สรรค์สร้างคลังปัญญา
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.