การให้บริการตอบคำถามด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์
การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า มีระบบและเทคนิคการตอบคำถามที่มีคุณภาพ และสามารถบริการให้แก่ผู้รับบริการได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงได้ทำการรวบรวมความรู้ที่อยู่ในชุมชน ขอค้นด้วยคน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั้งในตัวบุคคล และเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบในลักษณะของแหล่งความรู้ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึง แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ง่าย เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาตนเองและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในการจัดทำการจัดการความรู้ในองค์กร (KM) ของ ชุมชนขอค้นด้วยคน นั้น จะนำเสนอเนื้อหาและเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในประเด็นของบริการตอบคำถาม โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ แต่จะยังไม่ลงลึกในเนื้อหาของการค้นคว้าวิจัย เพราะจะให้ความสำคัญกับ การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ เป็นลำดับแรกเนื่องจากการสัมภาษณ์จะเป็นการกำหนดขอบเขตของคำถามหรือการตีความว่า อะไรคือสารสนเทศที่ผู้รับบริการต้องการ และเป็นการให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงประโยชน์ที่จะได้ รวมทั้งข้อจำกัดที่อาจพบในการสืบค้นสารสนเทศอีกด้วย
การสื่อสารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เนื่องจากผู้ให้บริการจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการตลอดเวลาของการให้บริการ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความเข้าใจตรงกันในคำถาม ทำให้การสัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อวิเคราะห์คำถามและหาแหล่งคำตอบง่ายขึ้น? สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยความรวดเร็ว ประหยัดเวลา ซึ่งวิธีการและองค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงตัวอย่างในการสัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ดังนั้น การสัมภาษณ์ จึงเป็นกลวิธีในการสนทนาซักถามของผู้ให้บริการตอบคำถามเพื่อให้เข้าถึงคำถามและสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้รับบริการว่าต้องการค้นหา ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และข้อเท็จจริง อะไร อย่างไร เป็นการหาขอบเขตของคำถามให้แน่ชัดก่อนลงมือสืบค้นข้อมูลทำให้ค้นพบข้อมูลได้ ถูกต้อง รวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการตอบคำถาม และผู้ถามหรือผู้รับบริการ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ดังแสดงในภาพ 1 ดังนี้
ภาพ1 ความสัมพันธ์บรรณารักษ์ ผู้ถาม
ที่มา. จาก การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (หน้า 83), โดย ฉวีลักษณ์ บุญยะกาญจน, 2521, มหาสารคาม: ศูนย์เอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ตัวอย่างการสัมภาษณ์โดยการแยกประเภทของคำถาม
1. คำถามชัดเจน เป็นการบอกวัตถุประสงค์ของการถามอย่างชัดเจน ตรงประเด็น และรู้ว่าต้องการสิ่งใด
ตัวอย่าง
ผู้รับบริการ : ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ การพาณิชย์นาวี ครับ
ผู้ให้บริการ : ข้อมูลที่ต้องการ นำไปทำอะไรคะ
ผู้รับบริการ : ทำวิจัย ครับ
ผู้ให้บริการ : ต้องการหนังสือประเภทใดบ้างค่ะ เช่น หนังสือทั่วไป งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง บทความวิชาการ ตำราเรียน ภาษาไทย หรือ ต่างประเทศ
ผู้รับบริการ : ขอเป็นบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทย และต่างประเทศครับ
ผู้ให้บริการ : จำกัดช่วงปี ของข้อมูลที่ต้องการไหมคะ ว่าต้องการปีพ.ศ. อะไร ถึงอะไร
ผู้รับบริการ : ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน ก็พอครับ
2. คำถามคลุมเครือ เป็นคำถามที่ผู้ถามไม่สามารถสื่อสารความต้องการที่แท้จริงถึงสิ่งที่ตนเองต้องการได้ ว่าต้องการอะไร อาจเกิดจากพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ที่ต้องการมีอยู่น้อย หรือเป็นเรื่องที่ใหม่ ยากต่อการเข้าใจของตนเอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้ถูกต้องทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา และสร้างความเบื่อหน่ายในระหว่างการซักถามแก่ผู้รับบริการได้ ตัวอย่างคำถามคลุมเครือและการสัมภาษณ์มีดังนี้?
ตัวอย่าง
ผู้รับบริการ : ต้องการข้อมูลหนังสือเกี่ยวกับ GIS ครับ
ผู้ให้บริการ : GIS ที่ว่านี้หมายถึงอะไรค่ะ เป็นศัพท์เฉพาะ หรือย่อมาจากคำเต็มว่าอย่างไรคะ
ผู้รับบริการ : ไม่แน่ใจครับว่าย่อมาจากอะไร อาจารย์ให้มาหาข้อมูล
ผู้ให้บริการ : นักศึกษาเรียนคณะ/สาขาวิชาอะไรคะ และต้องการนำข้อมูลไปใช้เพื่ออะไร
ผู้รับบริการ : สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคมครับ ตอนนี้กำลังเรียนปรับพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องที่ต้องการหาเีกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์กับเทคโนโลยี อะไรทำนองนี้นี่แหละครับ
ผู้ให้บริการ : GIS ย่อมาจาก Geographic Information System ที่แปลเป็นไทยว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือเปล่าคะ
ผู้รับบริการ : ใช่ครับ อยากได้หนังสืออ่านประกอบทั่วไป ปีใหม่ ๆ ?เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำรายงานครับ
วิธีการตั้งคำถามในการสัมภาษณ์
- คำถามเกี่ยวกับคำ (word) เป็นคำถามที่ผู้ให้บริการ ไม่แน่ใจ หรือไม่มีความรู้คำศัพท์ด้านนี้มาก่อน เมื่อจะทำการสืบค้นเพื่อหาคำตอบก็จะเกิดการลังเลว่าจะสะกดคำนั้นถูกหรือไม่ จึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามจากผู้รับบริการให้แน่นอนเสียก่อน เช่น ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ไคเซ็น โดยมีแนวทางการสัมภาษณ์ ดังนี้
คำถาม แนวทางการสัมภาษณ์ คำถามเกี่ยวกับคำ (word) - สะกดให้ฟังทีละตัวอักษร
- เขียนลงบนกระดาษ
- ตรวจสอบจากพจนานุกรม
- สอบถามเพิ่มเติมว่าคำนี้ เป็นศัพท์เฉพาะทาง เฉพาะสาขาหรือไม่
- คำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง (subject) เป็น คำถามเฉพาะทางหรือเนื้อหาของสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพนั้น หากผู้ให้บริการไม่มีความรู้หรือไม่แน่ใจ อาจจะต้องทำการตรวจสอบจากพจนานุกรมเฉพาะทาง หรือสารานุกรม และสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ เพื่อแนะนำแหล่งคำตอบได้ต่อไป เช่น อยากได้บทความ เรื่อง High-resolution solid-state carbon-13 nuclear magnetic resonance study of chitin
คำถาม แนวทางการสัมภาษณ์ คำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง (subject) - เป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาใด
- ทราบชื่อวารสาร vol./ no./issue/เลขหน้า/ปีพิมพ์ ที่ต้องการหรือไม่
- ขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการ เอาฉบับเต็ม (full text) หรือเฉพาะบทคัดย่อ (abstract) เป็นต้น
- คำถามที่เป็นชื่อเฉพาะ หมายถึง ชื่อเฉพาะต่าง ๆ เช่น ชื่อเฉพาะบุคคล ชื่อทางภูมิศาสตร์ ชื่อสถานที่ ชื่อภาษา ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่อเรียกพืช สัตว์ ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ ชื่อ ดาราศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่ออื่น ๆ เช่น ชื่องานประพันธ์ ชื่อเพลง ชื่อเหตุการณ์ ชื่อโปรแกรม ชื่อเหล่านี้ ผู้ให้บริการอาจจะไม่คุ้นเคย ไม่รู้จัก หรือไม่รู้ว่าจะสะกดอย่างไร ด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการจะต้องตรวจสอบแน่ใจว่าตนเองสื่อสารทำความเข้าใจ และสามารถช่วยเหลือผู้รับบริการได้
คำถาม แนวทางการสัมภาษณ์ คำถามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น - ชื่อเฉพาะบุคคล
- ?ชื่อทางภูมิศาสตร์ /ชื่อสถานที่
- สอบถาม ชื่อ-นามสกุล สะกดถูกต้องหรือไม่
- ยศ เพศ เชื้อชาติ อาชีพ สถานภาพทางสังคมเป็นต้น
- สะกดให้ฟังทีละตัวอักษร
- เขียนลงบนกระดาษ
- อ่านออกเสียง
- เป็นชื่อเมือง/ประเทศ/จุดเด่นของสถานที่นั้น ๆ
- คำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ เป็นคำถามที่ผู้รับบริการอยากทราบถึงเรื่องราว เหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ประวัติศาสตร์แต่ละยุคสมัย หรือเนื้อความตอนใดตอนหนึ่งของเรื่อง หรือการหาคำอธิบายเพิ่มเติมจากสิ่งที่สนใจจะหาคำตอบ เช่น ม็อบ และเหตุการณ์สลายการชุมนุม
คำถาม แนวทางการสัมภาษณ์ คำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง (subject) - สอบถามช่วงระยะเวลาที่ต้องการ
- ประเภทของข้อมูล
- ขอบเขตของข้อมูล
- วัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช
- คำถามเบ็ดเตล็ด เป็น คำถามทั่วไปที่ต้องการความจริงเป็นคำตอบ และไม่มุ่งหวังที่จะใช้คำตอบนั้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด นอกจากความสนใจส่วนตัว ความอยากรู้อยากเห็น หรืออาจเรียกว่าเป็นคำถามความรู้รอบตัว มีความชัดเจนอยู่ในคำถาม จึงไม่จำเป็นต้องสอบถามอะไรอีก สามารถค้นหาคำตอบได้เลย เพียงแค่แนะนำแหล่งของข้อมูลหรือช่วยค้นหาคำตอบจากแฟ้มสารนิเทศเฉพาะเรื่อง ที่บรรณารักษ์ผู้ให้บริการได้จัดทำ/รวบรวม ไว้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นเฉพาะเรื่องหรือหนังสือประเภทอื่น ๆ เท่านั้นก็เพียงพอ ตัวอย่างคำถามเบ็ดเตล็ด เช่น- มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งเมื่อใด
– ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ มีให้บริการอยู่ที่ไหน
– Journal กับ Periodical แตกต่างกันอย่างไร
– จังหวัดที่มีรายได้ค่าแรงขั้นต่ำที่สุดในประเทศไทยคือจังหวัดอะไร
การนำเรื่องการให้บริการตอบคำถามด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์มากำหนดการจัดการความรู้ของชุมชน มีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติงานในการให้บริการตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักฯ ดังนั้นในตอนส่งท้ายนี้ จะเป็นการสรุปประเด็นการตั้งคำถามหลัก และส่วนเสริมเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ให้นำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นคำถามอย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์คำถาม และแสวงหาคำตอบให้กับความต้องการของผู้รับบริการต่อไป?
ประเด็นการตั้งคำถาม | เทคนิคการสัมภาษณ์ |
1. ประเภทของคำถาม | ผู้ให้บริการแยกประเภทคำถาม ดังนี้
|
2. วัตถุประสงค์การนำข้อมูลไปใช้ |
|
3. ลักษณะ/ขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการ |
|
4. ประเภททรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ??4.1 ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
4.2 ประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุ |
|
4.3 ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น แบ่งเป็น
|
5. ระยะเวลาของข้อมูลที่ต้องการ |
|
นอกเหนือจากการมีเทคนิคการสัมภาษณ์ที่ดีแล้ว ในด้านของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการตอบคำถามจะต้องมีความพร้อมในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับความต้องการของผู้รับบริการ และบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
บรรณานุกรม
ผ่องพรรณ ลวนานนท์. (2547). การสื่อสารในงานสารนิเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสุข พงศ์วุฒิศักดิ์. (2545). บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2554, จาก http://www.lib.ru.ac.th/article/refservice.html
พิมลพรรณ เรพเพอร์. (2536). คู่มือประกอบการเรียนบริการตอบคำถามและบริการสารนิเทศเพื่อช่วยการค้นคว้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิมลพรรณ เรพเพอร์. (2544). บริการตอบคำถามและบริการสารนิเทศเพื่อช่วยการค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2541). เทคนิคในการสัมภาษณ์เพื่อบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้ากรณีบริการสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข. 16(3), 45-50.
ระเบียบ ปาวิเศษ. (2544). การใช้อินเทอร์เน็ตของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลัยพร เหมะรัชตะ. (2521). การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิสิทธิ์? จินตวงศ์. (2521). บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าของห้องสมุด. เชียงใหม่:ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
อารีย์ เพชรหวน. (2541). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานบริการตอบคำถาม ของรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าวิจัยพิเศษ
ชุมชน ขอค้นด้วยคน
เนื้อหาทั้งหมดที่ได้นำเสนอลงบนเว็บ KM นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคู่มือที่ทางชุมชนได้จัดทำค่ะ นำเสนอเนื้อหาและตัวอย่างที่ได้จากการปฏิบัติงานและศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงประเด็นคำถาม และเทคนิคการสัมภาษณ์ที่ได้สรุปเป็นแนวทางในการตอบคำถาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราเหล่าคนบริการจะได้รับประโยชน์จากชุมชนของเราไม่มากก็น้อย และหากท่านใดมีประสบการณ์ หรือเทคนิคการสัมภาษณ์ใหม่ ๆ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะค่ะ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ