การใช้เครื่องสแกนหนังสือ (HP Scanjet N9120)

การใช้เครื่องสแกน (HP Scanjet N9120)

*ชลวิทย์  จิตมาน

เครื่องสแกน คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่ายตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดฯ ได้นำเครื่องสแกนรุ่น (HP Scanjet N9120) มาใช้ในการสแกนหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการห้องสมุด สามารถอ่านหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ทั้งเล่มเสมือนจริงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ โดยที่ไม่ต้องมาค้นคว้าภายในห้องสมุดด้วยตนเอง

ขั้นตอนการใช้เครื่องสแกน (HP Scanjet N9120)  มีดังนี้

  1. เปิดสวิทช์ power on ที่เครื่องสแกน
  2. คลิ๊กที่ Icon โปรแกรม HP Smart Document Scan Software ที่หน้า Desktop

Icon โปรแกรม HP Smart Document Scan Software

จะปรากฏหน้าจอ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การใช้เครื่องสแกนหนังสือ (HP Scanjet N9120)

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

 

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

เรวดี เรืองประพันธ์ *

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป  เมื่อบรรณารักษ์ ต้องกำหนดหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ในส่วนของชื่อประเทศ รวมถึงชื่อเมืองหลวง ซึ่งต้องสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทย ก็ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป สร้างความยุ่งยากแก่ผู้ปฏิบัติงานมิใช่น้อย อีกทั้งการเชื่อตามผู้เขียนหนังสือที่ถอดเสียงอ่าน แล้วเขียนตัวสะกดชื่อประเทศ ชื่อเมืองอย่างไร เราก็มักจะเชื่อ แล้วจึงกำหนดหัวเรื่องตามนั้น เช่น ประเทศ  Switzerland ผู้เขียนสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน คือ สวิตเซอร์แลนด์ บ้าง สวิสเซอร์แลนด์ บ้าง

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ เลี้ยวสวิส
หัวเรื่อง คือ   สวิสเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ผู้เขียนสะกด Switzerland เป็น สวิสเซอร์แลนด์ (แต่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้สะกดว่า สวิตเซอร์แลนด์)

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ แตะยอดเขา ล่องทะเลสาบ สวิตเซอร์แลนด์
หัวเรื่อง คือ  สวิตเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว

เพราะสาเหตุการสะกดหัวเรื่องชื่อประเทศที่แตกต่างกัน (สวิตเซอร์แลนด์บ้าง สวิสเซอร์แลนด์บ้าง)  ดังนั้นเมื่อสืบค้นหัวเรื่องจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด ปัญหา คือ ผู้รับบริการจะไม่ได้หนังสือทุกรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ปัจจุบัน ฝ่าย  วิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ ได้แก้ไขหัวเรื่อง สวิสเซอร์แลนด์ เป็น สวิตเซอร์แลนด์ ตามราชบัณฑิตยสถาน เรียบร้อยแล้ว)

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

หัวหาเรื่อง

หัว (หา) เรื่อง

ชื่อชุมชน : ชุมชนสรรค์สร้างคลังปัญญา

วิสัยทัศน์ : วิเคราะห์รวดเร็ว ค้นสะดวก เข้าถึงง่าย

 

หัวเรื่อง (Subject headings) คือคำหรือวลี (กลุ่มคำ) หรือวิสามานยนาม สามานยนามต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นใช้แทนเนื้อเรื่องของหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ตลอดจนวัสดุการศึกษาทุกชนิด เพื่อใช้เป็นจุดเข้าถึงรายการบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ และวัสดุการศึกษาดังกล่าว??ที่มีเนื้อเรื่องอย่างเดียวกัน (ทองหยด ประทุมวงศ์, 2521, หน้า 1; อัมพร ทีขะระ, 2533, หน้า 399; A.L.A, 1983, p. 220)

กลวิธีการกำหนดหัวเรื่อง

หลักทั่วๆ ไป ในการกำหนดหัวเรื่อง ต้องพิจารณาถึงหัวข้อต่อไปนี้ (Haykin อ้างถึงใน Wynar, 1972 p. 7-11) ประกอบ

  1. ประเภทและขนาดของหัวเรื่อง
  2. ผู้ใช้ห้องสมุด
  3. ภาษาที่ใช้
  4. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของหัวเรื่อง
  5. หัวเรื่องที่เฉพาะเจาะจง

ประเภทของหัวเรื่อง มี 2 ประเภท (พวา พันธุเมฆา, 2549, หน้า 6) คือ

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> หัวหาเรื่อง

การวิเคราะห์เลขหมู่ และลงรายการวิทยานิพนธ์

25520923_km04

วิทยานิพนธ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบของงานวิเคราะห์สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษและสื่อเสริมการศึกษา ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ

วิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์
2. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
3. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

การลงรายการในรูปแบบ MARC 21

การลงรายการข้อมูลวิทยานิพนธ์ในส่วนของชื่อผู้แต่ง (Tag 100) ชื่อเรื่อง (Tag 245) ส่วนของจำนวนหน้า ภาพประกอบและขนาด (Tag 300) เหมือนกับการลงรายการของหนังสือ แต่จะแตกต่างกันในส่วนของข้อมูลต่อไปนี้

  1. ข้อมูลการพิมพ์ (Tag 260) จะลงเฉพาะปีพิมพ์ของวิทยานิพนธ์ ตัวอย่าง เช่น

การ Export records ข้อมูลเพื่อส่งหนังสือออก

25520909_km03

การส่งหนังสือออกบริการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทำงานของฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรฯ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในขั้นตอนนี้จะต้องหยิบหนังสือมาพิมพ์ทีละเล่ม พิมพ์ตามแบบฟอร์ม FM สก. 56-2-1 คือ เริ่มพิมพ์ตั้งแต่เลขเรียกหนังสือ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือบางท่านอาจจะเข้าไปคัดลอกข้อมูลจากฐานข้อมูลหนังสือเล่มที่จะส่งออกทีละเล่ม ซึ่งจะทำให้เสียเวลา และโอกาสที่จะเสี่ยงจากการไปทำให้ข้อมูลในฐานผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปจากของเดิมเป็นไปได้สูงมาก หรือถ้าร้ายแรงไปกว่านั้น เมื่อไปคลุมดำข้อความที่ต้องการจะคัดลอกแล้วคลิกเม้าส์ขวา แทนที่จะใช้คำสั่ง Copy แต่กลับใช้คำสั่ง delete field ข้อมูลในส่วนนั้นอาจจะหายไปได้ บางคนอาจจะบอกว่า ?ก็เวลาออกจากหน้าจอนั้นระบบจำถามว่า Do you want to save changes? ให้ตอบ NO ก็นั่นแหละถามว่าโอกาสที่จะตอบว่า Yes ได้ไหมก็เป็นไปได้เหมือนกัน เพราะโดยทั่วไปคนเราจะพลั้งเผลอกันได้

วิธีการในการส่งหนังสือที่ใช้เวลาน้อยหรือประหยัดเวลา ไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับฐานข้อมูล และได้รายชื่อหนังสือส่งออกที่ถูกต้องไม่ผิดพลาดเลยยกเว้นในฐานข้อมูลพิมพ์ผิด คือ การ Export records? ข้อมูล ซึ่งจากการที่เราได้อบรมวิธีการทำ Review file กันมาแล้ว นำมาประยุกต์ใช้กับการทำรายชื่อหนังสือส่งออก โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การ Export records ข้อมูลเพื่อส่งหนังสือออก

การ Free Records

25520909_km02

เคยไหมค่ะ อยู่ ๆ ก็มีคนมาถามว่าหนังสือเล่มนี้ไม่สามารถ update ได้ ผู้ที่ถามไม่ใช่ชาว catalog เท่านั้น มีเพื่อนร่วมงานจากฝ่ายบริการด้วย ใหม่ ๆ ดิฉันก็งงค่ะ คิดว่าหนังสือเล่มนั้นมีข้อผิดพลาดจากการทำงานของเรา หรือว่าระบบ จนในที่สุดก็พบคำตอบ มาดูคำเฉลยกันนะ
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การ Free Records