การสืบค้นด้วยคำสำคัญ

การสืบค้นด้วยคำสำคัญ โดย กลุ่ม คนสืบค้น (ชุมชนBangna variety)

การสืบค้นข้อมูลด้วยคำสำคัญ หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยค การค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search) (มหาวิทยาลัยขอนแก่น .สำนักวิทยบริการ , 2555: ออนไลน์) การสืบค้นด้วยคำสำคัญ ซึ่งอาจเป็นคำหรือวลีใดๆ ก็ได้ ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล อาจเป็นคำที่ปรากฏในส่วนของหัวเรื่อง หรือชื่อเรื่องของแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือ บทความต่าง ๆ จากวารสาร และรวมทั้งบทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ การกำหนดคำค้น โดยเริ่มจากการวิเคราะห์คำถามของเรื่องที่ต้องการค้นหาว่าประเด็นหลักอะไรและเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุคำสำคัญที่จะใช้เป็นคำค้น โดยทั่วไปมักใช้คำนามเป็นประเด็นหลักของเรื่องที่ต้องการ ในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวข้องจะเป็นส่วนที่ใช้จำกัดขอบเขตให้แคบลง การกำหนดคำที่ดีนั้นควรรู้จักปรับเปลี่ยนเพื่อให้การค้นหาประสบความสำเร็จโดยการกำหนดคำที่มีความหมายที่แคบกว่า และใช้คำค้น คำอื่นที่มีความหมายเหมือนกันในกรณีที่ใช้คำใดคำหนึ่งค้นหาแล้วไม่พบ […]

คำสำคัญ สำคัญไฉน

คำสำคัญ สำคัญไฉน ?

 

กลุ่ม ค คน ค้นคำ (ชุมชนBangna variety)

 

คำสำคัญ (Keywords) หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลบทความวารสารด้วยคำสำคัญ หรือ Keywords เป็นการค้นหาบทความวารสาร โดยใช้คำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่, ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ) ซึ่งการค้นแบบนี้ เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อบทความวารสารที่แน่ชัด หรือไม่ทราบหัวเรื่อง (สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555: ออนไลน์) สรุปได้ว่า คำสำคัญ (Keywords) ที่กำหนดไว้เพื่อสืบค้นบทความวารสาร ต้องเป็นคำ หรือวลีที่เลือกมา เพื่อใช้แทนชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปแล้ว คำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กะทัดรัด […]

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

 

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่ เรวดี เรืองประพันธ์ *

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป เมื่อบรรณารักษ์ ต้องกำหนดหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ในส่วนของชื่อประเทศ รวมถึงชื่อเมืองหลวง ซึ่งต้องสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทย ก็ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป สร้างความยุ่งยากแก่ผู้ปฏิบัติงานมิใช่น้อย อีกทั้งการเชื่อตามผู้เขียนหนังสือที่ถอดเสียงอ่าน แล้วเขียนตัวสะกดชื่อประเทศ ชื่อเมืองอย่างไร เราก็มักจะเชื่อ แล้วจึงกำหนดหัวเรื่องตามนั้น เช่น ประเทศ Switzerland ผู้เขียนสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน คือ สวิตเซอร์แลนด์ บ้าง สวิสเซอร์แลนด์ บ้าง

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ เลี้ยวสวิส หัวเรื่อง คือ สวิสเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว ผู้เขียนสะกด Switzerland เป็น สวิสเซอร์แลนด์ (แต่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้สะกดว่า สวิตเซอร์แลนด์)

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ แตะยอดเขา ล่องทะเลสาบ สวิตเซอร์แลนด์ หัวเรื่อง คือ […]