กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ
1.การสัมภาษณ์ เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ให้บริการต้องเผชิญหน้า?? กับผู้รับบริการเพื่อทำการสัมภาษณ์และสอบถามถึงความต้องการ เพื่อให้ได้แนวทางในการวิเคราะห์คำถาม และหาแหล่งคำตอบ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ เป็นการกำหนดหรือตีความว่า อะไรคือสารสนเทศที่ผู้รับบริการต้องการ นอกจากนี้ ยังเป็นการให้คำอธิบายที่ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าถึงประโยชน์ที่จะได้ และข้อจำกัดที่อาจพบในการสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (อโณชา แสงดาว, 2551, หน้า 15)
2.การวิเคราะห์คำถาม หลังจากที่ได้ทำการสัมภาษณ์ความต้องการของผู้รับบริการ ในขั้นตอนถัดมาจะเป็นการนำประเด็นคำถามมาวิเคราะห์ ซึ่งแยกประเภทของคำถามได้ ดังนี้ (พิมลพรรณ เรพเพอร์, 2544, หน้า 69)
2.1 แยกตามเนื้อเรื่องหรือหัวข้อวิชาอย่างกว้าง ๆ
2.2 แยกตามประเภทของแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ
2.3 แยกตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของผู้ถาม
2.4 แยกตามแหล่งสารสนเทศที่ใช้หาคำตอบ
2.5 แยกตามชนิดของคำถามที่บรรณารักษ์ได้รับ
3. การแสวงหาแหล่งคำตอบ เมื่อมีการวิเคราะห์ รวบรวม หรือประมวลคำถามของผู้รับริการเป็นที่เรียบร้อยแล้วในลำดับถัดมาเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ผู้ให้บริการจะต้องรู้ แหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ที่จะสามารถค้นหาคำตอบได้ เช่น สามารถค้นหาสารสนเทศได้จาก สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำสารสนเทศที่มีคุณค่าและตรงกับความต้องการนำเสนอต่อผู้รับบริการ เพื่อประเมินว่าสารสนเทศนั้นตรงกับความต้องการมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยทักษะและความรู้ ความชำนาญในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ และใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลสารสนเทศให้กับผู้ใช้ได้อีกทางหนึ่ง
บรรณานุกรม
พิมลพรรณ เรพเพอร์. (2544). บริการตอบคำถามและบริการสารนิเทศเพื่อช่วยการค้นคว้า. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อโณชา แสงดาว. (2551). คู่มือปฏิบัติงานการบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า.ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าวิจัยและบริการพิเศษ, สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าวิจัยพิเศษ
ชุมชน ขอค้นด้วยคน
ความเห็นล่าสุด