การสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป (ตอนที่ 1)

ยูทูป (Youtube) คือ เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ที่เป็นวีดีโอ ซึ่งเนื้อหามีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวีดีโอโฆษณา มิวสิควีดีโอ รายการทีวีย้อนหลัง และคลิปวีดีโอสั้น ๆ ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป (ศตพล จันทร์ณรงค์, 2558) ให้บริการฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เปิดบริการเว็บไซต์ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดโดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปโดยง่าย ส่วนมากนิยมนำมาใช้เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการดำเนินการธุรกิจ เช่นเดียวกันกับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาในแง่ของการศึกษาหาความรู้ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน บันทึกเหตุการณ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น หรือเพื่อความบันเทิง ล้วนมีความหมายและคุณค่าหากมีวิธีการคัดเลือกและจัดเก็บ

ดังนั้น หน่วยจดหมายเหตุดิจิทัล จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของวีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ Youtube จากเจ้าของหน่วยงานเป็นผู้เผยแพร่ หรือจากบุคคลทั่วไป โดยมีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหตุการณ์ กิจกรรมหรือบุคคลซึ่งมีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัย ให้คุณค่าต่อประวัติศาสตร์และการศึกษาค้นคว้าวิจัย จึงได้นำเสนอวิธีการการสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและเผยแพร่ความรู้ได้อีกด้วย

การสืบค้น

  1. การกำหนดคำค้น (Keyword) เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการสืบค้น และแหล่งข้อมูลที่จะทำการค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการต่อการนำมาใช้ประโยชน์ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการได้มาซึ่งข้อมูล โดยเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการจัดเก็บให้คำนึงถึงสิ่งที่สะท้อนพันธกิจ บทบาทภาระหน้าที่ของหน่วยงานในด้านต่าง ๆ
  2. เทคนิคการสืบค้น ใช้วิธีการสืบค้นการค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) การค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search) การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) และเครื่องหมายพิเศษอื่น ๆ

วิธีการสืบค้น

การสืบค้นอย่างง่าย (Basic search) คือ การสืบค้นขั้นพื้นฐาน สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำได้โดยใส่คำค้น (keyword) ที่เป็นประโยค คำ หรือวลี ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างคำค้น : เพลงมหาวิทยาลัยรามคำแหง

      1. ไปที่เว็บไซต์ www.youtube.com ปรากฏหน้าจอและใส่คำค้นลงไปในช่องสืบค้น และคลิก คลิกสืบค้น
        ใส่คำค้นลงไปในช่องสืบค้น

    อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป (ตอนที่ 1)