หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

 

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

เรวดี เรืองประพันธ์ *

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป  เมื่อบรรณารักษ์ ต้องกำหนดหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ในส่วนของชื่อประเทศ รวมถึงชื่อเมืองหลวง ซึ่งต้องสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทย ก็ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป สร้างความยุ่งยากแก่ผู้ปฏิบัติงานมิใช่น้อย อีกทั้งการเชื่อตามผู้เขียนหนังสือที่ถอดเสียงอ่าน แล้วเขียนตัวสะกดชื่อประเทศ ชื่อเมืองอย่างไร เราก็มักจะเชื่อ แล้วจึงกำหนดหัวเรื่องตามนั้น เช่น ประเทศ  Switzerland ผู้เขียนสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน คือ สวิตเซอร์แลนด์ บ้าง สวิสเซอร์แลนด์ บ้าง

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ เลี้ยวสวิส
หัวเรื่อง คือ   สวิสเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ผู้เขียนสะกด Switzerland เป็น สวิสเซอร์แลนด์ (แต่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้สะกดว่า สวิตเซอร์แลนด์)

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ แตะยอดเขา ล่องทะเลสาบ สวิตเซอร์แลนด์
หัวเรื่อง คือ  สวิตเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว

เพราะสาเหตุการสะกดหัวเรื่องชื่อประเทศที่แตกต่างกัน (สวิตเซอร์แลนด์บ้าง สวิสเซอร์แลนด์บ้าง)  ดังนั้นเมื่อสืบค้นหัวเรื่องจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด ปัญหา คือ ผู้รับบริการจะไม่ได้หนังสือทุกรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ปัจจุบัน ฝ่าย  วิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ ได้แก้ไขหัวเรื่อง สวิสเซอร์แลนด์ เป็น สวิตเซอร์แลนด์ ตามราชบัณฑิตยสถาน เรียบร้อยแล้ว)

แม้จะมีหนังสือที่จัดพิมพ์โดยราชบัณฑิตยสถาน ชื่อว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่องกำหนดชื่อประเทศ  ดินแดน เขตปกครอง และเมืองหลวง. พิมพ์ครั้งที่ ๒ แก้ไขปรับปรุง. พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นคู่มือช่วยกำหนดหัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงแล้วก็ดี แต่หนังสือชื่อเรื่องดังกล่าว ก็จัดพิมพ์มานานมากแล้ว และยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขพิมพ์ฉบับใหม่ออกมา
ขณะนี้คือ พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีเขตการปกครองเกิดขึ้นใหม่ บางประเทศได้เปลี่ยนระบอบการปกครองและเปลี่ยนชื่อ บางประเทศ หรือบางเขตการปกครองได้ย้ายที่ตั้งหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่  ผู้เขียนมองเห็นปัญหาการกำหนดหัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวง ในเรื่องตัวสะกด เรื่องการถอดอักษรตามหลักเกณฑ์ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ดังนั้นจึงได้รวบรวมข้อมูลชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่ไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติงานกำหนดหัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวง
ตัวอย่าง ปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (The Union of Soviet Socialist Republics — USSR) ล่มสลาย เนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล มีอาณาเขตทั้งในทวีปเอเชียและในทวีปยุโรปของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต แบ่งเป็น ๑๕ ประเทศใหม่

ประเทศ

เมืองหลวง

ทวีป

ชื่อทั่วไป

ชื่อทางการ

๑. เอสโตเนีย                       Estonia สาธารณรัฐเอสโตเนีย                                     Republic of Estonia ทาลลินน์                           Tallinn ยุโรป
๒. ลัตเวีย                      Latvia สาธารณรัฐลัตเวีย                                             Republic of  Latvia ริกา                                                               Riga ยุโรป
๓. ลิทัวเนีย        Lithuania สาธารณรัฐลัตเวีย                                        Republic of  Lithuania วิลนีอุส                                 Vilnius ยุโรป
๔. เบลารุส            Belarus สาธารณรัฐเบลารุ                                      Republic of   Belarus มินสก์                                     Minsk ยุโรป
๕.   —- ยูเครน                                                                 kraine เคียฟ                                           Kiev ยุโรป
๖.  รัสเซียRussia สหพันธรัฐรัสเซีย                                                Russian Federation มอสโก                                 Moscow ยุโรป
๗.  อาร์เมเนีย       Armenia สาธารณรัฐอาร์เม                                        Republic of  Armenia เยเรวานYerevan เอเชีย
๘. อาเซรอร์ไบขาน   Azerbaijan สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน                                   Republic of  Azerbaijan บากู                                         Baku เอเชีย

 

ประเทศ  

เมืองหลวง

ทวีป

ชื่อทั่วไป

ชื่อทางการ

๙. คาซัคสถาน  Kazakhstan สาธารณรัฐคาซัสถาน                                         Republic of Kazakhstan อัสตานา                               Astana เอเชีย
๑๐. คีร์กีซสถานKyrgyzstan สาธารณรัฐคีร์กีซ                                                  Kyrgyz Republic บิชเคก                                  Bishkek เอเชีย
๑๑. มอลโดวา          Moldova สาธารณรัฐมอลโดวา                                        Republic of  Moldova คีชีเนา                             Chisinau ยุโรป
๑๒. ทาจิกิสถาน           Tajikistan สาธารณรัฐทาจิกิสถาน                               Republic of Tajikistan ดูชานเบ                             Dushanbe เอเชีย
๑๓.      —- เติร์กเมนิสถาน                                  Turkmenistan อาชกาบัต      Ashgabat อเชีย
๑๔. อุซเบกิสถาน       Uzbekistan สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน                                     Republic of Uzbekistan ทาชเคนต์                         Tashkent เอเชีย
๑๕. —- จอร์เจีย Georgia ทบิลิชิTbilisi เอเชีย

สำหรับสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia Socialist Republic) ล้มเลิกระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิตส์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ ต่อมาได้แยกออกเป็นประเทศอิสระ ๒ ประเทศ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) คือ

ประเทศ

เมืองหลวง

ทวีป

ชื่อทั่วไป

ชื่อทางการ

๑.  —- สาธารณรัฐเช็ก                                                   Czech Republic ปราก                                                             Prague ยุโรป
๒. สโลวาเกีย       Slovakia สาธารณรัฐสโลวัก                                               Slovak Republic บราติสลาวา                  Bratislava ยุโรป

ในทวีปยุโรปอีกเช่นกัน สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย มีประชากรหลายเชื้อชาติ นับถือศาสนาแตกต่างกัน ต่างต้องการเป็นอิสระ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ชื่อประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ เนื้อที่ของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย แบ่งออกเป็น ๗ ประเทศใหม่ คือ

ประเทศ

เมืองหลวง

ทวีป

ชื่อทั่วไป

ชื่อทางการ

๑.  —- สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา           Federation of Bosnia and  Herzegovina ซาราเยโว                     Sarajevo ยุโรป
๒. โครเอเชีย       Croatia สาธารณรัฐโครเอเชีย                                       Republic of Croatia ซาเกร็บ                            Zagreb ยุโรป
๓. สโลวีเนีย           Slovenia สาธารณรัฐสโลวีเนีย                                       Republic of  Slovenia ลูบลิยานา                     Ljubljana ยุโรป
๔. เซอร์เบีย     Serbia สาธารณรัฐเซอร์เบีย                                                Republic of Serbia เบลเกรด                              Belgrade,Beograd ยุโรป
๕. มอนเตเนโกร       Montenegro สาธารณรัฐมอนเตเนโกร                                           Republic of Montenegro พอดกอรีตซา                Podgorica ยุโรป
๖. —- มาซิโดเนีย                                                                   Macedonia สโกเปีย                                   Skopje ยุโรป
๗. —- โคโซโว                                                                    Kosovo (ไม่ปรากฏ) ยุโรป

สาธารณรัฐมอนเตเนโกร ประกาศเอกราชวันที่ ๓ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) เป็นลำดับประเทศที่ ๑๙๓ ของโลก แต่เป็นลำดับประเทศที่ ๑๙๒ ของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (โลกมีแว่นแคว้นอย่างเป็นทางการทั้งหมด ๑๙๖ ดินแดน แต่สหประชาชาติรับรองฐานะประเทศเพียง ๑๙๓ ดินแดน ซึ่ง ๓ ดินแดนคือ โคโซโว  ไต้หวัน  สำนักวาติกัน ยังไม่รับรองฐานะประเทศชาติ)
โคโซโว เป็นมณฑลหนึ่งของ สาธารณรัฐเซอร์เบีย ต้องการเป็นเอกราช  จึงประกาศเอกราชจาก สาธารณรัฐเซอร์เบีย แต่ฝ่ายเดียว เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)  ซึ่ง สาธารณรัฐเซอร์เบียไม่ยอมรับ  และสหประชาชาติยังไม่รับรองฐานะประเทศโคโซโวเป็นทางการอีกด้วย
ตุรกี หรือ สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เมืองหลวงคือ อังการา (Ankara ) แต่ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนเข้าใจผิดว่า อิสตันบูล คือเมืองหลวงของตุรกี อย่างไรก็ดี ในอดีตก่อนที่สาธารณรัฐตุรกีจะก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๒๓ (พ.ศ.๒๔๖๖)  อิสตันบูลเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ์ไบแซนไทน์ยาวนานถึง ๑,๖๑๐ ปี
สำหรับเนปาล หรือราชอาณาจักรเนปาล (Kingdon of Nepal) การประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้เนปาลเป็นสาธารณรัฐ และยกเลิกสถาบันกษัตริย์ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) กระทรวงการต่างประเทศเนปาล ได้แจ้งเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการใหม่ คือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal of Republic of Nepal)
ส่วนเพื่อนบ้านประเทศไทย คือพม่า (Myanmar) เคยมีชื่อทางการว่า สหภาพพม่า (The Union of Myanmar) ประมาณวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ.๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ เป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) พร้อมทั้งย้ายเมืองหลวงจาก ย่างกุ้ง (Yangon) ไปเป็นเมืองเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)
ติมอร์ตะวันออก (East Timor) เป็นเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซียโอบล้อม เคยเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๕๒๐ – ๑๙๗๕ (พ.ศ . ๒๐๖๓ – ๒๕๑๘) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปโดยมิได้จัดการปกครองแต่อย่างใดให้แก่ติมอร์ เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ ผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ ๒๗ ของประเทศอินโดนีเซีย แต่ประชาชนชาวติมอร์คัดค้านเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น  จากการชุมชุมคัดค้านเปลี่ยนมาเป็นการเรียกร้องเอกราช เหตุการณ์ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนสหประชาชาติต้องตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติส่งไปรักษาสันติภาพใน  ติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
ติมอร์ตะวันออก เป็นลำดับประเทศที่ ๑๙๒ ของโลก แต่เป็นลำดับประเทศที่ ๑๙๑ ของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ   นอกจากนั้นติมอร์ตะวันออก ยังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่  ๑๑ อีกด้วย
ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาคือ สาธารณรัฐซูดาน  (Republic of the Sudan): เมืองหลวง คือ คาร์ทูม (Khartoum) ปกครองโดยอาหรับมุสลิม ขณะที่ภาคใต้ของซูดาน เป็นคริสเตียนกลุ่มชนเผ่า หลากหลายชาติพันธุ์ ประชากรซูดานภาคเหนือ — ภาคใต้ ต่างทำสงครามกลางเมืองกว่า ๕๐ ปีคร่าชีวิตเกือบสองล้านคน เพื่อการสงบศึกระหว่างดินแดนภาคเหนือ – ภาคใต้ ซูดานใต้ จึงได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจาก สาธารณรัฐซูดาน เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔) เป็นประเทศใหม่ล่าสุดลำดับที่ ๕๔ ในทวีปแอฟริกา มีชื่อเป็นทางการคือสาธารณรัฐซูดานใต้ (Republic of South Sudan) นับเป็นประเทศเกิดใหม่ลำดับที่ ๑๙๓  ของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มีเมืองหลวงชื่อ จูบา ( Juba)

ประเทศ

เมืองหลวง

ทวีป

ชื่อทั่วไป

ชื่อทางการ

๑.  ซูดาน                                          Sudan สาธารณรัฐซูดาน                                                    Republic of the Sudan คาร์ทูม              Khartoum แอฟริกา
๒.  ซูดานใต้ สาธารณรัฐซูดานใต้                                              Republic of South Sudan จูบา                            Juba แอฟริกา
๓.  ติมอร์ตะวันออก          East Timor                      ติมอร์-เลสเต                   Timor – Leste สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต                        The Democratic Republic of Timor-Leste ดิลี                                  Dili เอเชีย
๔.  ตุรกี                         Turkey สาธารณรัฐตุรกี                                                          Republic of Turkey อังการา                       Ankara เอเชีย
๕.  เนปาล                   Nepal สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล                   Federal of Republic of Nepal กาฐมาณฑุ            Kathmandu เอเชีย
๖.  พม่า, เมียนมาร์Myanmar สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์                                The Republic of Union of Myanmar เนปิดอว์                        Nay Pyi Taw เอเชีย

อนึ่ง ประเทศใหม่เหล่านี้ มีผู้จัดทำเว็บไซต์ ที่ให้ทั้งข้อมูลแปลกใหม่และภาพที่สวยงาม น่าสนใจ จึงขอเชิญผู้อ่าน เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมตามบรรณานุกรม เรื่อง ยูโกสลาเวียรำลึก เซอร์เบีย  มอนเตเนโกร  โครเอเชีย  บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และเรื่อง รู้จักชาติน้องใหม่ของโลกลำดับที่ ๑๙๓ สาธารณรัฐซูดานใต้ ด้วย.

บรรณานุกรม

กรมยุโรป, กองยุโรป 3. ( สิงหาคม 2553 ). สาธารณรัฐเซอร์เบีย. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2555, จาก  http://www.mfa.go.th
กรมเอเชียตะวันออก, กองเอเชียตะวันออก 4. (กุมภาพันธ์ 2547). ติมอร์เลสเต. ค้นเมื่อ 13
กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.mfa.go.th/internet/country/359d.doc
กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, กองแอฟริกา. (12 กรกฎาคม 2554). แนะนำประเทศ
ใหม่ล่าสุดบนแผนที่โลก สาธารณรัฐซูดานใต้. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2555, จาก
http://www.thaifrica.net/th/news/activity/detail.php?ELEMENT_ID=851
เนปิดอว์ และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. (16 มิถุนายน 2554). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2555,
จาก http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID
ประเทศตุรกี. (2553 ). ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2555, จาก http://th.wikipedia.org
ยูโกสลาเวียรำลึก เซอร์เบีย, มอนเตเนโกร, โครเอเชีย, บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา. (24 กรกฎาคม
2553). ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2555, จาก http://board.Trekkingthai.com/board/print.php?  fourm-id
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง
กำหนดชื่อ ประเทศ  ดินแดน เขตปกครอง และเมืองหลวง  (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง).  รุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2536). ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวักแยกเป็น 2 ประเทศ . ค้นเมื่อ
8 มกราคม 2555, จาก http://www.royin.go.th
ราชอาณาจักรเนปาล. (27 กันยายน 2554). ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2555, จาก http://th.wikipedia.org/wik ราชอาณาจักรเนปาล
รู้จักชาติน้องใหม่ของโลกลำดับที่ 193 สาธารณรัฐซูดานใต้. (11 กรกฎาคม 2554). ). ค้นเมื่อ 14
กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.savebird.com./Forum/index.php?topic=1548.0
สหภาพโซเวียต. (4 กุมภาพันธ์ 2555 ). ค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์  2555, จาก  http://th.wikipedia.org/wiki
อานุภาพ เงินกระแชง. (2554, กรกฎาคม 10). 193 ชาติน้องใหม่ซูดาน ก้าวเผชิญอุปสรรคเพิ่งเริ่มต้น. ไทยรัฐ,  หน้า 2
อิสตันบูล, (6 กุมภาพันธ์ 2555). ค้นเมื่อ 10  กุมภาพันธ์ 2555, จาก  http://th.wikipedia.org/wiki%E0%B8%AD%E
Thammasat University, International Cooperation Study Center. (พฤษภาคม 2553 ). ประเทศ
ราชอาณาจักร เนปาล. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2555, จาก http://www.apecthai.org/apec./th/profile1.php?continentid=2&country=n3

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ
ชุมชน สรรค์สร้างคลังปัญญา

Leave a Reply