วิทยานิพนธ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบของงานวิเคราะห์สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษและสื่อเสริมการศึกษา ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ
วิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์
2. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
3. วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
การลงรายการในรูปแบบ MARC 21
การลงรายการข้อมูลวิทยานิพนธ์ในส่วนของชื่อผู้แต่ง (Tag 100) ชื่อเรื่อง (Tag 245) ส่วนของจำนวนหน้า ภาพประกอบและขนาด (Tag 300) เหมือนกับการลงรายการของหนังสือ แต่จะแตกต่างกันในส่วนของข้อมูลต่อไปนี้
- ข้อมูลการพิมพ์ (Tag 260) จะลงเฉพาะปีพิมพ์ของวิทยานิพนธ์ ตัวอย่าง เช่น
- 260 _ _ |c2551?????
??????????
- รายการหมายเหตุของวิทยานิพนธ์ (Tag 502) ต้องระบุว่าเป็น วิทยานิพนธ์ หรือ สารนิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ และใส่ชื่อปริญญาในวงเล็บ ถ้ามีสาขาวิชา ก็ใส่สาขาวิชาในวงเล็บต่อท้ายชื่อปริญญา ตามด้วยเครื่องหมาย Hyphen 2 ขีด (–) ติดกันแล้วใส่ชื่อมหาวิทยาลัย ตามด้วยเครื่องหมาย Comma (,) แล้วเว้น 1 ระยะ ตามด้วยปีที่จบการศึกษา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สื่อสารมวลชน))–มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551
สารนิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)–มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))–มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551
**ข้อสังเกต** ไม่มีการเว้นระยะหน้าและหลังของเครื่องหมาย —
? - รายการหมายเหตุ (Tag 500) ใส่ในกรณีที่วิทยานิพนธ์ฉบับนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรโครงการการศึกษาวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย ดังตัวอย่าง
- 500 _ _ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรโครงการการศึกษาวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย??????????
?????
- รายการหมายเหตุของบรรณานุกรม (Tag 504) ลงคำว่า บรรณานุกรมตามด้วยเครื่องหมาย Colon (:) แล้วใส่จำนวนแผ่น ตัวอย่าง เช่น
- บรรณานุกรม: แผ่น 50-51
**ข้อสังเกต** จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์ ใช่คำว่า ?แผ่น? เนื่องจากพิมพ์หน้าเดียว แต่ถ้าพิมพ์ทั้งหน้าและหลัง ให้ใช้คำว่า “หน้า”
? - สำหรับการลงรายการเพิ่ม (Added entry) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาด้วยคณะ หรือสาขาของวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นได้ จะลงรายการดังตัวอย่าง
- 710 2 _ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.|bคณะศึกษาศาสตร์.|bสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
710 2 _ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.|bคณะนิติศาสตร์
**ข้อสังเกต** การค้นหาด้วย คณะ หรือ สาขา ต้องค้นที่ ผู้แต่ง เช่นต้องการค้นว่าคณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน มีวิทยานิพนธ์เล่มใดบ้าง ต้องป้อนคำค้นว่า “มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน” - ในส่วนของหัวเรื่อง จะเพิ่ม tag 610 เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการค้นได้ว่ามหาวิทยาลัยนั้น ๆ มีวิทยานิพนธ์อะไรบ้าง โดยลงหัวเรื่องเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแล้วตามด้วยหัวเรื่องย่อย ?วิทยานิพนธ์? สำหรับภาษาอังกฤษ จะลงชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษแล้วตามด้วยหัวเรื่องย่อย “Thesis” ดังตัวอย่าง
- 610 2 _ มหาวิทยาลัยรามคำแหง|xวิทยานิพนธ์
610 2 _ Ramkhamhaeng University|xThesis????
การกำหนดเลขเรียกหนังสือ
วิทยานิพนธ์ จะกำหนดเลขเรียกหนังสือโดยระบบพิเศษ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ใช้อักษรย่อ ของมหาวิทยาลัย เช่น ม.ร. จฬ มธ มช มก ฯลฯ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ ใช้ มรภ ใส่เครื่องหมาย Slash (/) ตามด้วยอักษรย่อของชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ใช้ว่า มรภ/ดส
ส่วนที่ 2 ใช้อักษรตัวแรกของผู้แต่ง ตามด้วยเลขผู้แต่งโดยใช้คู่มือตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นเลข 3 หลัก แต่ถ้าซ้ำกัน ให้กระจายเลข โดยไปดูที่นามสกุล และใช้อักษรตัวแรกของนามสกุลมากำหนดเป็นเลขกระจาย จากคู่มือตารางเลขหนังสือสำหรับหนังสือภาษาไทย สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น
- มุกดา มีลาภ จะได้เลข ม6156
สำหรับหนังสือวิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ จะใช้เลขผู้แต่งจากคู่มือ Ramkhamhaeng University Library Cutter Number
ส่วนที่ 3 ใส่ปี พ.ศ. ที่จบการศึกษา
ดังนั้นเลขเรียกหนังสือของวิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จะเป็น ดังนี้
ม.ร. ม6156 2552 |
ม.ร. .A45 2008 |
ข้อควรระวัง
ในการบันทึกข้อมูลระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด นอกจากจะต้องตรวจรายการข้อมูลทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และรายการอื่นๆ แล้ว ขอให้ตรวจสอบ รายการต่อไปนี้ด้วย
ระเบียนบรรณานุกรม (Bibliography record)
1. LANG ภาษาของระเบียนบรรณานุกรมต้องตรงกับภาษาของตัวเล่ม
2. Location ต้องเป็น multi หมายถึงวิทยานิพนธ์ชื่อนั้น มีอยู่มากกว่า 1 สถานที่
3. Mat type ต้อง เป็น t (thesis) สำหรับจำกัดการสืบค้น
4. Suppress ต้องเป็น ? เมื่อส่งตัวเล่มออกบริการแล้ว
ระเบียนฉบับ (Item record)
1. I type ต้องเป็น 2
2. Location ต้องตรงกับตัวเล่มวิทยานิพนธ์ ถ้าเป็นของ สก หรือของห้องสมุดวิทยาเขตบางนา Location ต้องเป็น rcthe หรือ rbthe ตามลำดับ แต่ถ้าเป็นของห้องสมุดสาขาวิทยบริการฯ เช่น จังหวัดสุโขทัย ต้องเป็น rstth
งานวิเคราะห์สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษและสื่อเสริมการศึกษา
ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ
กุมภาพันธ์ 2553
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.