เทคนิคการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น


หน้าปก เรื่อง เทคนิคการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น จาก ชุมชน ขุมคลังทางปัญญา (ฝ่ายบริการผู้อ่าน)

เมื่อห้องสมุดทำการจัดหนังสือตามชนิดของหนังสือแล้ว จะเขียนเลขหมู่ไว้ที่สันหนังสือ เพื่อสะดวกแก่การเก็บหนังสือเข้าชั้นได้ถูกที่ ห้องสมุดบางแห่งมักจะเขียนเลขหมู่หนังสือและตัวย่อนามสกุลคนแต่งถ้าคนแต่งเป็นชาวต่างประเทศไว้ที่สันหนังสือ

สำหรับสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีหนังสือเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จึงใช้ระบบการจัดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน คือ แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ 20 หมวด ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ A-Z ยกเว้น I O W X Y ภายใต้แต่ละหมวดแบ่งออกเป็นหมวดย่อย ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว หรือ 3 ตัว ภายใต้หมวดใหญ่และหมวดย่อย มีการแบ่งให้ละเอียดโดยเพิ่มเลขหมู่ตั้งแต่ 1-9999 เช่น QA และยังมีเลขประจำของผู้แต่งอีกด้วย เรียกว่า “เลขหนังสือ (Book number)” หรือ “เลขของผู้แต่ง (Auther number)” เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างผู้แต่งที่มีอักษรย่อตัวเดียวกัน และแต่งหนังสือในหมวดเดียวกัน เลขหมู่หนังสือรวมกับเลขหนังสือ เรียกว่า “เลขเรียกหนังสือ (Call number)” เป็นเลขที่ผู้ใช้บริการถามหาหนังสือเล่มนั้น ๆ? เช่น

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> เทคนิคการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

การจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

25520909_km01

การจัดเรียงหนังสือบนชั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการของผู้ใช้บริการ หากมีการจัดเรียงหนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ อย่างถูกต้องตามหลักการจัดเรียง การเข้าถึงหนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ นั้นๆ จะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน

โดยที่คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นประการสำคัญ การจัดเรียงหนังสือบนชั้นจึงได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการบริการตัวหนึ่งของห้องสมุด

หนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ ของห้องสมุด มีหลายประเภท ทั้งหนังสือทั่วไป สิ่งพิมพ์รัฐบาล สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ แต่ละประเภทมีระบบการจัดหมวดหมู่ที่ต่างกัน ฉะนั้นการจัดเรียงหนังสือ สิ่งพิมพ์จึงต่างกันไปด้วย

ตามหลักการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นนั้นจะจัดเรียงตามเลขหมู่หนังสือ ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มจะมีเลขหมู่ประจำหนังสือที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเล่มก็ว่าได้

  1. ในระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบรัฐสภาอเมริกัน จะประกอบด้วยตัวอักษร A-Z และเลขอารบิค มีเลขประจำผู้แต่งรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเลขเรียกหนังสือด้วย เช่น PL4177 ธ2776ในการจัดเรียงหนังสือบนชั้นจะเรียงตามลำดับอักษร A-Z และในแต่ละหมวดใหญ่ จึงจัดเรียงตามอักษรหมวดย่อย เช่น หมวด P จะเรียงมาก่อน PE, PL, PN และในแต่ละหมวดใหญ่/ย่อย จะจัดเรียงตามเลขอารบิค จากเลขน้อยไปหาเลขมาก แล้วจึงเรียงตามอักษร เลขประจำผู้แต่งจากเลขน้อยไปหามาก ดังตัวอย่าง

    อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น