การประหยัดพลังงานเครื่องคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 6)

การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วงพักกลางวัน  1 ชั่วโมง

จากการสอบถามแบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามฝ่ายต่างๆ พบว่าลักษณะภารกิจของเจ้าหน้าที่แต่ละท่านแบ่งเป็น งานด้านเอกสาร งานปฏิบัติกับเครื่องคอมพิวเตอร์ งานประชุมต่างๆ งานนั่งเคาน์เตอร์ และงานจัดชั้นหนังสือ จากลักษณะงานดังกล่าว สามารถปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วงที่ปฏิบัติภารกิจที่ไม่เกี่ยวกับงานคอมพิวเตอร์ เช่น งานด้านเอกสาร 30 นาที งานประชุม 1 ชั่วโมง และติดต่อประสานงานกับฝ่ายต่างๆ 10-15 นาที รวมแล้วประมาณ 2 ช.ม. ดังนั้นเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน จะเหลือเวลาสำหรับงานปฏิบัติกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 6 ชั่วโมง จึงนำมาคิดคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้

จากสูตรคำนวนการใช้ไฟฟ้า

[ (กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของเครื่องไฟฟ้าชนิดนั้น × จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า) ÷ 1000 ] × จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน =  จำนวนหน่วยหรือยูนิตของไฟฟ้าที่ใช้ไป

สมมติ เครื่องคอมพิวเตอร์ (ยี่ห้อ Acer รุ่น VL460) จำนวน 1 เครื่อง ใช้กำลังไฟฟ้า 170  watt และใน 1 วันเปิดใช้ทำงาน 6 ชั่วโมง

แทนค่าในสูตร

[ (170 × 1)/1000 ] × 6  =  1.02  หน่วยหรือยูนิตของไฟฟ้าที่ใช้ไป

ค่าไฟฟ้า รวมค่าพลังงานแปรผัน (ft), ภาษี และค่าบริการ คือ หน่วยละ 3.72 บาท

ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่ใช้ไป = 1.02 × 3.72 = 3.7944 บาท/วัน

สมมติ ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 310  เครื่อง

ค่าไฟฟ้าที่ใช้ไป

= 3.7944 × 310 = 1,176.264 บาท/วัน

= 1,176.264 × 20 = 23,525.28 บาท/เดือน (20 วัน)

= 23,525.28 × 12 = 282,303.36 บาท/ปี (12 เดือน)

หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 310 เครื่องช่วงพักกลางวัน 1 ช.ม.

จะประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ = [ (170 × 310)/1000 ] × 1 = 52.7 หน่วยหรือยูนิต
หรือประหยัดค่าไฟฟ้าได้

= 52.7 × 3.72 =    196.044 บาท/วัน

= 196.044 × 20 = 3,920.88 บาท/เดือน (20 วัน)

= 3,920.88 × 12 = 47,050.56 บาท/ปี (12 เดือน)

ดั้งนั้น การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงในเวลาที่ไม่ใช้งานเป็นวิธีประหยัดไฟฟ้าที่ได้ประสิทธิภาพมาก ถ้าทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือ จะสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายขององค์กรลงได้อย่างแน่นอน

บรรณานุกรม

  • การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง. วารสารภายในการไฟฟ้านครหลวง. 18 (2541, กรกฎาคม) 178.
  • ทวีกิจ สุพาณิชย์กุล. (2545).  Windows xp เข้าใจง่าย สไตล์ 3 มิติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  • Acer Inc. (2008).  Acer empowering people [DVD]. n.p.: Acer Inc.
  • HP Compaq. (2008).  HP Compaq business PC: Documentation and diagnostics [DVD]. USA: Hewlett- Packard Development Company.
  • Samsung Electronic. (2002). Sync master monitor user’s guider [CD-ROM]. n.p.: Sumsung Inc.
  • http://hilight.kapook.com/view/80269 ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556.
  • http://gsmblog.com/post/Difference-between-S1-(POS)-and-S3-(STR)-standby-mode-in-BIOS.aspx ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556.
  • http://www2.dede.go.th/bhrd/old/web_display/websemple/swf_com21/21_thai.swf ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556.
  • http://www.tlcthai.com/technology/board-hitech/7200.html ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556.
  • http://www.alro.go.th/alro/project/save_energy/document/computer.pdf ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556.
  • http://tip.maxlayout.com/2012/03/window-7-sleep-and-display-settings.html ค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556.
  • http://www.varietypc.net/main/archives/3866 ค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556.

 เรียบเรียงโดย ทีม KM ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

2 comments to การประหยัดพลังงานเครื่องคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 6)

  • มีสาระ ประโยชน์ดี ค่ะ เข้าใจวิธีการการประหยัดพลังงาน ไม่ยากต่อการปฏิบัติเอง เพื่อส่วนรวม

  • ขอบคุณค่ะ ยินดีถ้าเป็นประโยชน์กับชาวสำนักฯ ค่ะ ^^

Leave a Reply