คำสำคัญ สำคัญไฉน

คำสำคัญ สำคัญไฉน ?

 

                                      กลุ่ม ค คน ค้นคำ (ชุมชนBangna variety)

 

                    คำสำคัญ (Keywords) หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย     เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ   ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลบทความวารสารด้วยคำสำคัญ หรือ  Keywords  เป็นการค้นหาบทความวารสาร โดยใช้คำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง    กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง     (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่, ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ) ซึ่งการค้นแบบนี้ เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อบทความวารสารที่แน่ชัด หรือไม่ทราบหัวเรื่อง (สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555: ออนไลน์)

            สรุปได้ว่า คำสำคัญ (Keywords) ที่กำหนดไว้เพื่อสืบค้นบทความวารสาร ต้องเป็นคำ หรือวลีที่เลือกมา  เพื่อใช้แทนชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา  โดยทั่วไปแล้ว คำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น  กะทัดรัด   ได้ใจความ   มีความหมาย     เป็นคำนาม หรืออาจเป็นศัพท์เฉพาะของแต่ละสาขาวิชาก็ได้

        วัตถุประสงค์ของการกำหนดคำสำคัญ

                 การกำหนดคำสำคัญ   มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น   เพราะระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง  ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่อง หรือท้ายเรื่อง

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> คำสำคัญ สำคัญไฉน

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

 

หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

เรวดี เรืองประพันธ์ *

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป  เมื่อบรรณารักษ์ ต้องกำหนดหัวเรื่องทางภูมิศาสตร์ในส่วนของชื่อประเทศ รวมถึงชื่อเมืองหลวง ซึ่งต้องสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทย ก็ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป สร้างความยุ่งยากแก่ผู้ปฏิบัติงานมิใช่น้อย อีกทั้งการเชื่อตามผู้เขียนหนังสือที่ถอดเสียงอ่าน แล้วเขียนตัวสะกดชื่อประเทศ ชื่อเมืองอย่างไร เราก็มักจะเชื่อ แล้วจึงกำหนดหัวเรื่องตามนั้น เช่น ประเทศ  Switzerland ผู้เขียนสะกดชื่อตามการออกเสียงอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน คือ สวิตเซอร์แลนด์ บ้าง สวิสเซอร์แลนด์ บ้าง

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ เลี้ยวสวิส
หัวเรื่อง คือ   สวิสเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ผู้เขียนสะกด Switzerland เป็น สวิสเซอร์แลนด์ (แต่ ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้สะกดว่า สวิตเซอร์แลนด์)

ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หนังสือชื่อ แตะยอดเขา ล่องทะเลสาบ สวิตเซอร์แลนด์
หัวเรื่อง คือ  สวิตเซอร์แลนด์ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว

เพราะสาเหตุการสะกดหัวเรื่องชื่อประเทศที่แตกต่างกัน (สวิตเซอร์แลนด์บ้าง สวิสเซอร์แลนด์บ้าง)  ดังนั้นเมื่อสืบค้นหัวเรื่องจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด ปัญหา คือ ผู้รับบริการจะไม่ได้หนังสือทุกรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ปัจจุบัน ฝ่าย  วิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำรายการ ได้แก้ไขหัวเรื่อง สวิสเซอร์แลนด์ เป็น สวิตเซอร์แลนด์ ตามราชบัณฑิตยสถาน เรียบร้อยแล้ว)

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> หัวเรื่องภูมิศาสตร์ : ชื่อประเทศและเมืองหลวงใหม่

แนวทางในการตอบคำถาม และให้คำปรึกษาสำหรับผู้ให้บริการ เรื่อง การเชื่อมต่อ Wi-Fi

howto-wi-fi-problem-001

1. วิเคราะห์ ปัญหาการเข้าใช้เครือข่ายของผู้รับบริการให้แน่ใจว่า ปัญหานั้นเกิดจากการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางหรือไม่ โดยสาเหตุตามลำดับดังนี้

1.1   ถ้าปัญหาเกิดจาก Hardware หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง

  • ให้สังเกตปุ่ม Wi-Fi ที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่กดเปิดรับสัญญาณ Wi-Fi แนะนำให้กดปุ่มเปิดสัญญาณ Wi-Fi ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
  • แบตเตอรี่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้จะหมด

–        แนะนำให้เตรียมชาร์ทแบตเตอรี่มาให้เต็มทุกวัน สำหรับนักศึกษา ป.ตรี เพราะไม่มีปลั๊กไฟให้บริการ สามารถใช้บริการ Wi-Fi ได้ทุกจุดบริการ ยกเว้นห้องบัณฑิตศึกษา

–        นักศึกษาทุกชั้นปี และบุคคลทั่วไป สามารถใช้บริการที่บริเวณ Wi-Fi Zone for Edutainment
ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 1 ของสำนักหอสมุดกลาง ซึ่งมีปลั๊กไฟไว้บริการ สำหรับชาร์ทแบตเตอรี่ในขณะที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

–        ถ้าเป็นนักศึกษา ป.โท และ ป.เอก สามารถขอใช้บริการห้องบัณฑิตศึกษา ชั้นลอย อาคาร 3 ซึ่งมีปลั๊กไฟบริการชาร์ทแบตเตอรี่ในขณะที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> แนวทางในการตอบคำถาม และให้คำปรึกษาสำหรับผู้ให้บริการ เรื่อง การเชื่อมต่อ Wi-Fi

ความปลอดภัยของ Wi-Fi และการป้องกันภัยของตนเอง จากการใช้ ฟรี Wi-Fi

ความปลอดภัยของ Wi-Fi และการป้องกันภัยของตนเอง จากการใช้ ฟรี Wi-Fi

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อของเครือข่ายถูกต้องหรือไม่ หากไม่แน่ใจ ไม่ควรเข้าใช้
  • ไม่ใช้งาน online banking บน free Wi-Fi
  • ไม่เปิดใช้งาน share file และ การ Log in เข้าใช้เครือข่าย Wireless โดยอัตโนมัติ
  • อัพเดทโปรแกรม ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  • ไม่ Log in ค้างไว้ ใช้งาน account ต่างๆ บน free Wi-Fi เช่น Email, Facebook, Twitter ฯลฯ

เรียบเรียงโดย สุชล แก้วประทุม
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

ความรู้ Wi-Fi ฟรีในกรุงเทพมหานคร และ ฟรี True Wi-Fi ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ความรู้ Wi-Fi ฟรีในกรุงเทพมหานคร และ ฟรี True Wi-Fi ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Wi-Fi ฟรีจะให้บริการฟรีสำหรับการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด แต่จะต้องขอรหัสเข้าใช้งานเพื่อ Login เข้าใช้งานได้ฟรี อาจมีการจำกัดระยะเวลาในการใช้งานต่อการ Login 1 ครั้ง หรือกำหนดระยะเวลาในการตัดการเชื่อมต่อ และสามารถเชื่อมต่อใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง กับการให้บริการ
Wi-Fi ฟรีโดยปล่อยสัญญาณจาก Modem Router เหมือนอินเทอร์เน็ตตามบ้านทั่วไป ผู้ใช้บริการเพียงแค่ขอรหัสผ่านก็สามารถเข้าใช้งานได้

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> ความรู้ Wi-Fi ฟรีในกรุงเทพมหานคร และ ฟรี True Wi-Fi ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ iPhone

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ iPhone

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Blackberry

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Blackberry

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Blackberry

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Android

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Android

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบนมือถือ Android

วีธีการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลาง บน Tablet : Android

howto-wifi-tablet-android

  • เปิดการตั้งค่า
  • แตะไร้สายและเครือข่าย > การตั้งค่า Wi-Fi
  • เลือก Wi-Fi ให้ on เพื่อเปิด ให้เลือก Network  ที่ชื่อ RAMLIWIN รอจนปรากฏคำว่า Connected
  • จะปรากฏสัญลักษณ์ ที่บริเวณด้านบนสุดของหน้าจอ
  • เปิดเว็บไซต์สำนักหอสมุดกลาง www.lib.ru.ac.th แล้วคลิกปุ่ม Login/Logout (ด้านล่างขวาของจอ) เพื่อทำการ login เข้าใช้งาน

(ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนการใช้งานอินเตอร์เน็ตของ ม.รามคำแหงมาก่อน ถ้ายังไม่ลงทะเบียน ให้คลิกปุ่ม Register เพื่อลงทะเบียนก่อน)

เรียบเรียงโดย สุชล แก้วประทุม
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

การเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลางบน Tablet : iPad

วีธีการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของสำนักหอสมุดกลาง บน iPad

howto-wifi-tablet-iPad

  • เข้าหน้า Home Screen
  • แตะปุ่ม Settings
  • แตะปุ่ม Wi-Fi
  • แตะปุ่ม Wi-Fi ให้ ON
  • รอสักครู่จะเห็นสัญญาณของ Wireless
  • ให้เลือกสัญญาณ Wireless ที่ชื่อ RAMLIWIN รอจนปรากฏเครื่องหมาย √ หน้าชื่อ RAMLIWIN
  • กลับมาที่หน้า Home Screen เปิดบราวเซอร์ Safari
  • เปิดเว็บไซต์สำนักหอสมุดกลาง www.lib.ru.ac.th แล้วคลิกปุ่ม Login/Logout (ด้านล่างขวาของจอ)
    เพื่อทำการ login เข้าใช้งาน
  • ถ้าใส่ Username และ Password ถูกต้อง ก็จะสามารถใช้งานได้ทันที
  • ข้อสังเกต ที่บริเวณด้านบนสุดซ้ายมือของหน้าจอ ที่มีคำว่า iPad ถ้ามีการเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless สำเร็จจะมีสัญลักษณ์ของ Wireless แสดงให้เห็น

(ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนการใช้งานอินเตอร์เน็ตของ ม.รามคำแหงมาก่อน ถ้ายังไม่ลงทะเบียน ให้คลิกปุ่ม Register เพื่อลงทะเบียนก่อน)

เรียบเรียงโดย สุชล แก้วประทุม
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด
ชุมชน Techno OK