การให้บริการยืมหนังสือด้วยระบบ RFID (Radio Frequency – Identification)

2552-10-07-rfid-03-main

ขณะนี้การให้บริการยืม-คืนหนังสือของฝ่ายบริการผู้อ่านอยู่ในระหว่างให้บริการควบคู่กัน 2 ระบบหนังสือที่ติด RFID Tag แล้วเข้าระบบ RFID หนังสือที่ติดบาร์โค้ดเข้าระบบบาร์โค้ด โดยผู้ปฏิบัติงานที่เคาน์เตอร์ ต้องทราบและสังเกตว่าหนังสือที่นักศึกษาหยิบลงมายืมนั้น ติดแท็กหรือไม่ ถ้าติดแท็กแล้วผู้ให้บริการต้องนำหนังสือวางลงบนเครื่องอ่านแท็กที่อยู่ในเคาน์เตอร์ หลังจากที่ทำยืมหนังสือให้ผู้ใช้บริการแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลบสัญญาณแถบแม่เหล็กที่ติดไว้ในหนังสือแล้ว จึงส่งหนังสือให้ผู้ใช้บริการนำออกไปได้ หรือหากต้องการยืมด้วยตนเองที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติก็ได้
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การให้บริการยืมหนังสือด้วยระบบ RFID (Radio Frequency – Identification)

การนำ RFID มาใช้ในฝ่ายบริการผู้อ่าน

2552-10-07-rfid-02-main

การดำเนินการเพื่อให้บริการในระบบ RFID ได้นั้น ฝ่ายบริการผู้อ่านได้มีการประชุม จัดเตรียมหนังสือให้พร้อมให้บริการ โดยบุคลากรในแต่ละหน่วยงานต้องนำหนังสือมาเข้าระบบ (ติด Tagเพื่อให้ผู้ใช้บริการยืม-คืนหนังสือได้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การนำ RFID มาใช้ในฝ่ายบริการผู้อ่าน

RFID คืออะไร

2552-10-07-rfid-01-main

ในปัจจุบันสำนักหอสมุดกลาง ได้พัฒนาการให้บริการโดยนำระบบ RFID มาใช้ในการให้บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเอง และประตูควบคุมทางเข้า-ออก เพื่อป้องกันหนังสือสูญหาย แทนระบบเดิมที่ใช้บาร์โค้ดและแถบแม่เหล็ก ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการและให้บริการแล้วเป็นบางส่วน

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> RFID คืออะไร

การจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

25520909_km01

การจัดเรียงหนังสือบนชั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการของผู้ใช้บริการ หากมีการจัดเรียงหนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ อย่างถูกต้องตามหลักการจัดเรียง การเข้าถึงหนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ นั้นๆ จะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน

โดยที่คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นประการสำคัญ การจัดเรียงหนังสือบนชั้นจึงได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการบริการตัวหนึ่งของห้องสมุด

หนังสือ สิ่งพิมพ์ฯ ของห้องสมุด มีหลายประเภท ทั้งหนังสือทั่วไป สิ่งพิมพ์รัฐบาล สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ แต่ละประเภทมีระบบการจัดหมวดหมู่ที่ต่างกัน ฉะนั้นการจัดเรียงหนังสือ สิ่งพิมพ์จึงต่างกันไปด้วย

ตามหลักการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้นนั้นจะจัดเรียงตามเลขหมู่หนังสือ ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มจะมีเลขหมู่ประจำหนังสือที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเล่มก็ว่าได้

  1. ในระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบรัฐสภาอเมริกัน จะประกอบด้วยตัวอักษร A-Z และเลขอารบิค มีเลขประจำผู้แต่งรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเลขเรียกหนังสือด้วย เช่น PL4177 ธ2776ในการจัดเรียงหนังสือบนชั้นจะเรียงตามลำดับอักษร A-Z และในแต่ละหมวดใหญ่ จึงจัดเรียงตามอักษรหมวดย่อย เช่น หมวด P จะเรียงมาก่อน PE, PL, PN และในแต่ละหมวดใหญ่/ย่อย จะจัดเรียงตามเลขอารบิค จากเลขน้อยไปหาเลขมาก แล้วจึงเรียงตามอักษร เลขประจำผู้แต่งจากเลขน้อยไปหามาก ดังตัวอย่าง

    อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น