บริการ Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และการติดตั้งบน Google Chrome

บริการ Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้บริการ Proxy Server สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเข้าใช้ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย (Reference Database ประกอบด้วย e-Journals, e-Books, e-Theses, e-News และ Trial) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้บริการ

โดยใช้ Username และ Password เดียวกันกับที่ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้งาน “อินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (RU Internet Access Authentication)” สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้งาน สามารถลงทะเบียนได้ที่ http://register.ru.ac.th/ หรือ http://10.4.52.20/

 

ข้อตกลงในการใช้ Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  1. Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้สำหรับการเข้าใช้ฐานข้อมูล Reference Database เท่านั้น
  2. ผู้ใช้ต้องยกเลิกค่า Proxy Server เมื่อเลิกใช้ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย (Reference Database) ในแต่ละครั้ง
  3. ห้ามแจกจ่าย User name และ Password ของตนเองให้ผู้อื่นใช้โดยเด็ดขาด
  4. ห้ามใช้โปรแกรมอัตโนมัติดาวน์โหลดเอกสาร และไม่ดาวน์โหลดเอกสารปริมาณมากในขณะที่ใช้ Proxy Server
  5. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีอำนาจที่จะระงับหรือยุติการให้บริการการใช้ Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง
  6. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงการให้บริการที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า

วิธี Set up ใช้งาน Proxy Server เพื่อเข้าใช้ Reference Databases ด้วยโปรแกรม Google Chrome

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> บริการ Proxy Server ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และการติดตั้งบน Google Chrome

การให้บริการยืมหนังสือด้วยระบบ RFID (Radio Frequency – Identification)

2552-10-07-rfid-03-main

ขณะนี้การให้บริการยืม-คืนหนังสือของฝ่ายบริการผู้อ่านอยู่ในระหว่างให้บริการควบคู่กัน 2 ระบบหนังสือที่ติด RFID Tag แล้วเข้าระบบ RFID หนังสือที่ติดบาร์โค้ดเข้าระบบบาร์โค้ด โดยผู้ปฏิบัติงานที่เคาน์เตอร์ ต้องทราบและสังเกตว่าหนังสือที่นักศึกษาหยิบลงมายืมนั้น ติดแท็กหรือไม่ ถ้าติดแท็กแล้วผู้ให้บริการต้องนำหนังสือวางลงบนเครื่องอ่านแท็กที่อยู่ในเคาน์เตอร์ หลังจากที่ทำยืมหนังสือให้ผู้ใช้บริการแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลบสัญญาณแถบแม่เหล็กที่ติดไว้ในหนังสือแล้ว จึงส่งหนังสือให้ผู้ใช้บริการนำออกไปได้ หรือหากต้องการยืมด้วยตนเองที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติก็ได้
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การให้บริการยืมหนังสือด้วยระบบ RFID (Radio Frequency – Identification)

การนำ RFID มาใช้ในฝ่ายบริการผู้อ่าน

2552-10-07-rfid-02-main

การดำเนินการเพื่อให้บริการในระบบ RFID ได้นั้น ฝ่ายบริการผู้อ่านได้มีการประชุม จัดเตรียมหนังสือให้พร้อมให้บริการ โดยบุคลากรในแต่ละหน่วยงานต้องนำหนังสือมาเข้าระบบ (ติด Tagเพื่อให้ผู้ใช้บริการยืม-คืนหนังสือได้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การนำ RFID มาใช้ในฝ่ายบริการผู้อ่าน

RFID คืออะไร

2552-10-07-rfid-01-main

ในปัจจุบันสำนักหอสมุดกลาง ได้พัฒนาการให้บริการโดยนำระบบ RFID มาใช้ในการให้บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเอง และประตูควบคุมทางเข้า-ออก เพื่อป้องกันหนังสือสูญหาย แทนระบบเดิมที่ใช้บาร์โค้ดและแถบแม่เหล็ก ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการและให้บริการแล้วเป็นบางส่วน

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> RFID คืออะไร