การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 2)

วิธีที่ 2 ไม่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ไว้หน้า Desktop (เดสก์ทอป)

สามารถทำได้ด้วยการตรวจเช็ค ขนาดของไฟล์ข้อมูล บนหน้า Desktop (เดสก์ทอป) ดังนี้

  1. เลือก Folder ที่เราต้องการเช็ค
    ตรวจเช็ค ขนาดของไฟล์ข้อมูล บนหน้า Desktop

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 2)

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 1)

วิธีที่ 1 ลบไฟล์ขยะออกจากระบบปฏิบัติการเป็นประจำ

การลบไฟล์ขยะ ออกจากระบบปฏิบัติการ Windows 7 ทำได้ดังนี้

  1. คลิก Start
  2. พิมพ์ %temp% ในช่องว่างและกด enter
    ลบไฟล์ขยะ ออกจากระบบปฏิบัติการ

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 1)

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีความสำคัญในการทำงานขององค์กร ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมามากมายเพื่อตอบสนองกับความต้องการหลากหลายประเภทของผู้ใช้งาน และสำหรับระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย คือ ระบบปฏิบัติการ Windows (วินโดวส์) ของบริษัท Microsoft (ไมโครซอฟท์) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลายรุ่นแล้ว และในปัจจุบันบริษัท Microsoft ให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8 แต่ Windows 8 ยังไม่แพร่หลายนัก จึงได้นำเสนอการบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ windows 7 ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า เพื่อให้สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้อย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งใหม่จะมีประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่สาเหตุที่ทำให้เครื่องช้าลงนั้น เนื่องจากการลงโปรแกรมเสริมที่ใช้ทรัพยากรของเครื่อง เช่น Ram (แรม) และ CPU (ซีพียู) มากขึ้น ประกอบกับไฟล์ขยะจากระบบปฏิบัติการ ที่เมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมเสริมจะถูกสร้างขึ้นเองทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง ถ้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่มีการบำรุงรักษาหรือลบไฟล์เหล่านั้น

การทำให้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนการติดตั้งใหม่นั้น สามารถทำได้โดยผู้ใช้งานเอง ดังนี้

  1. ลบไฟล์ขยะออกจากระบบปฏิบัติการเป็นประจำ
  2. ไม่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ไว้หน้า Desktop (เดสก์ทอป)
  3. ทำการ Defragment (ดีแฟรกเมนท์) ทุก 2 เดือน
  4. ลงโปรแกรมเท่าที่จำเป็นในการใช้งาน
  5. ลบไฟล์ขยะอินเทอร์เน็ต สำหรับโปรแกรม ประเภท Browser (บราวเซอร์) เช่น
    • Internet Explorer (อินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์)
    • Google Chrome (กูเกิลโครม)
    • Mozilla Firefox (มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์)
  6. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

การซ่อมหนังสือด้วยตนเองอย่างง่าย

(http://www.youtube.com/watch?v=nnhXsGtIpJo)

งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ชุมชน สรรค์สร้างความรู้

การค้นตัวเล่มวารสาร

  1. เมื่อพบรายการที่ต้องการแล้วให้จดชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี พ.ศ. เลขหน้า เพื่อนำไปค้นหาบทความต้นฉบับ
    ถ้าเป็นบทความภาษาต่างประเทศให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2 และบทความภาษาไทยให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. หากมีปัญหาในการค้นตัวเล่มวารสารสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ ประจำเคาน์เตอร์บริการวารสาร
  3. หากต้องการบทความวารสารไปสำเนาเอกสาร ให้ผู้ใช้บริการกรอกรายละเอียดการยืมวารสาร กับเจ้าหน้าที่ ที่ประจำเคาน์เตอร์บริการ

รูปภาพประกอบในการสืบค้นบทความวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2

ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การค้นตัวเล่มวารสาร

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ทำด้วยวิธีการเดียวกับ การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

วิธีการสืบค้นสามารถเลือกได้หลายช่องทาง ดังนี้

  1. คำสำคัญ (Key Words) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการ ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร ให้ผู้ใช้คิดคำศัพท์ที่ต้องการและคิดว่าน่าจะมีในฐานข้อมูลมาใช้ในการสืบค้น
  2. ผู้แต่ง (Author) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  3. ชื่อบทความ (Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  4. ชื่อวารสาร (Journal Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อวารสาร
  5. หัวเรื่อง (Subject) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC MILLENNIUM และสืบค้นบัตรรายการออนไลน์ด้วยระบบ WebOPAC (Web Online Public Access Catalog) WebOPAC เป็นฐานข้อมูลการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลจาก หนังสือ วิทยานิพนธ์ โสตทัศน์วัสดุ วารสาร บทความวารสารและเอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ได้จากคอมพิวเตอร์บริการค้นข้อมูลภายในอาคารสำนักหอสมุดกลาง หรือสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://www.lib.ru.ac.th หรือเข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 1. เข้าสู่เว็บไซต์สำนักหอสมุดที่ http://www.lib.ru.ac.th เลือก Database Services คลิกเลือกที่
1. ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หรือ 2. ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร และเอกสาร
การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 2. เข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html
เลือกสืบค้นดรรชนีบทความวารสาร
การเข้าสู่หน้าจอสืบค้น

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาไทย

การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

การคัดเลือกและการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

หนังสือ1.
การคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

          การคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรห้องสมุด โดยการจัดซื้อประกอบด้วย หนังสือภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้

          การคัดเลือกและสั่งซื้อหนังสือภาษาไทย

                    1.ประสานงานกับร้านค้าเสนอหนังสือเพื่อคัดเลือก

                    2.รับการเสนอแนะหนังสือจากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและผู้ใช้บริการ

                    3.แจ้งคณะทำงานคัดเลือกและเสนอแนะหนังสือใหม่

                    4.ตรวจสอบรายชื่อหนังสือกับฐานข้อมูลฯ

                    5.แจ้งร้านค้าทำใบเสนอราคา

                    6.ขออนุมัติจัดซื้อ/แนบใบเสนอราคา

                    7.แจ้งให้ร้านค้าส่งตัวเล่มหนังสือพร้อมเอกสาร

                    8.แจ้งกรรมการตรวจรับ ตรวจสอบความถูกต้อง

                    9.ส่งหลักฐานการสั่งซื้อให้งานการเงิน

                    10.บันทึกระเบียนบรรณานุกรมและระเบียนสั่งซื้อ

                    11.คัดแยกหนังสือเสริมใบรองปก

                    12.ประทับตรา/ลงเลขระเบียนบรรณานุกรม

                    13.พิมพ์รายชื่อหนังสือส่งฝ่ายวิเคราะห์ฯ

          การคัดเลือกและจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศ

                   1.คัดเลือก/จัดส่ง Catalog/รายชื่อหนังสือให้อาจารย์คัดเลือก

                   2.นำรายชื่อที่ได้มาตรวจสอบกับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

                   3.ติดต่อร้านค้าทำใบเสนอราคาและเปรียบเทียบราคา

                   4.ขออนุมัติจัดซื้อ

                   5.จัดทำใบสั่งซื้อให้ร้านค้าและแจ้งให้ร้านค้าส่งตัวเล่มพร้อมเอกสาร

                   6.แจ้งคณะกรรมการตรวจรับตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือ

                   7.ส่งหลักฐานการสั่งซื้อให้งานการเงิน

                   8.บันทึกระเบียนบรรณานุกรมและระเบียนการสั่งซื้อ

                   9.คัดแยกหนังสือเสริมใบรองปก

                   10.ประทับตรา/ลงเลขระเบียนบรรณานุกรม

                   11.แจ้งผลการสั่งซื้อ

                   12.พิมพ์รายชื่อหนังสือส่งฝ่ายวิเคราะห์ฯ

 

 80848-attachment

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
ชุมชน สรรค์สร้างความรู้

การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 2)

ขั้นตอน การจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารขึ้นชั้น

การจัดชั้นวารสาร คือ การจัดเก็บและรวบรวมตัวเล่มวารสารที่ผู้ใช้บริการนำออกมาอ่าน ไปจัดเรียงขึ้นชั้นไว้ที่เดิมตามชื่อวารสารหรือตัวเลขกำกับวารสารจากซ้ายไปขวาบนลงล่าง ที่ชั้นให้บริการวารสารจะมีป้ายบ่งชี้กำกับไว้ซึ่งแยกประเภท เป็นวารสารฉบับปัจจุบัน วารสารฉบับย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาตัวเล่มได้สะดวกและรวดเร็ว

ผังขั้นตอน การจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารขึ้นชั้น

2556-09-19_08-journal
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 2)

การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 1)

ระบบการจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารทั้งวารสารภาษาไทย วารสารภาษาต่างประเทศ

2556-09-19_01-bookshelf

เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาวารสารของผู้ใช้บริการ และความสะดวก รวดเร็ว ในการจัดเก็บ/จัดเรียง วารสารขึ้นชั้น และเข้ากล่องให้ถูกต้องของผู้ให้บริการ ฝ่ายวารสารและเอกสาร จึงได้จัดทำระบบการจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารทั้งวารสารภาษาไทย วารสารภาษาต่างประเทศ ดังนี้
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 1)