การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 3)

วิธีที่ 3 ทำการ Defragment (ดีแฟรกเมนท์) ทุก 2 เดือน

ขั้นตอนการทำ Defragment (ดีแฟรกเมนท์)

  1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Computer
  2. คลิกขวา Drive (ไดรฟ์) ที่ต้องการ Defragment และเลือก Properties
    ขั้นตอนการ Defragment
  3. เลือก Tool
  4. ดับเบิ้ลคลิกที่ Defragment
  5. คลิก Defragment Disk

การ Defragment ทำให้ Harddisk (ฮาร์ดดิสก์) ทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็นการจัดเรียงข้อมูลใน Harddisk ให้เป็นระเบียบ ทำให้ระบบปฏิบัติการเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 2)

วิธีที่ 2 ไม่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ไว้หน้า Desktop (เดสก์ทอป)

สามารถทำได้ด้วยการตรวจเช็ค ขนาดของไฟล์ข้อมูล บนหน้า Desktop (เดสก์ทอป) ดังนี้

  1. เลือก Folder ที่เราต้องการเช็ค
    ตรวจเช็ค ขนาดของไฟล์ข้อมูล บนหน้า Desktop

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 2)

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 1)

วิธีที่ 1 ลบไฟล์ขยะออกจากระบบปฏิบัติการเป็นประจำ

การลบไฟล์ขยะ ออกจากระบบปฏิบัติการ Windows 7 ทำได้ดังนี้

  1. คลิก Start
  2. พิมพ์ %temp% ในช่องว่างและกด enter
    ลบไฟล์ขยะ ออกจากระบบปฏิบัติการ

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7 (วิธีที่ 1)

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีความสำคัญในการทำงานขององค์กร ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมามากมายเพื่อตอบสนองกับความต้องการหลากหลายประเภทของผู้ใช้งาน และสำหรับระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย คือ ระบบปฏิบัติการ Windows (วินโดวส์) ของบริษัท Microsoft (ไมโครซอฟท์) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลายรุ่นแล้ว และในปัจจุบันบริษัท Microsoft ให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8 แต่ Windows 8 ยังไม่แพร่หลายนัก จึงได้นำเสนอการบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ windows 7 ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า เพื่อให้สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้อย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ Windows 7

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งใหม่จะมีประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่สาเหตุที่ทำให้เครื่องช้าลงนั้น เนื่องจากการลงโปรแกรมเสริมที่ใช้ทรัพยากรของเครื่อง เช่น Ram (แรม) และ CPU (ซีพียู) มากขึ้น ประกอบกับไฟล์ขยะจากระบบปฏิบัติการ ที่เมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมเสริมจะถูกสร้างขึ้นเองทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง ถ้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่มีการบำรุงรักษาหรือลบไฟล์เหล่านั้น

การทำให้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนการติดตั้งใหม่นั้น สามารถทำได้โดยผู้ใช้งานเอง ดังนี้

  1. ลบไฟล์ขยะออกจากระบบปฏิบัติการเป็นประจำ
  2. ไม่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ไว้หน้า Desktop (เดสก์ทอป)
  3. ทำการ Defragment (ดีแฟรกเมนท์) ทุก 2 เดือน
  4. ลงโปรแกรมเท่าที่จำเป็นในการใช้งาน
  5. ลบไฟล์ขยะอินเทอร์เน็ต สำหรับโปรแกรม ประเภท Browser (บราวเซอร์) เช่น
    • Internet Explorer (อินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์)
    • Google Chrome (กูเกิลโครม)
    • Mozilla Firefox (มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์)
  6. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด
ชุมชน Techno OK

การซ่อมหนังสือด้วยตนเองอย่างง่าย

(http://www.youtube.com/watch?v=nnhXsGtIpJo)

งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ชุมชน สรรค์สร้างความรู้

การค้นตัวเล่มวารสาร

  1. เมื่อพบรายการที่ต้องการแล้วให้จดชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี พ.ศ. เลขหน้า เพื่อนำไปค้นหาบทความต้นฉบับ
    ถ้าเป็นบทความภาษาต่างประเทศให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2 และบทความภาษาไทยให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. หากมีปัญหาในการค้นตัวเล่มวารสารสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ ประจำเคาน์เตอร์บริการวารสาร
  3. หากต้องการบทความวารสารไปสำเนาเอกสาร ให้ผู้ใช้บริการกรอกรายละเอียดการยืมวารสาร กับเจ้าหน้าที่ ที่ประจำเคาน์เตอร์บริการ

รูปภาพประกอบในการสืบค้นบทความวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2

ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การค้นตัวเล่มวารสาร

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ทำด้วยวิธีการเดียวกับ การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

วิธีการสืบค้นสามารถเลือกได้หลายช่องทาง ดังนี้

  1. คำสำคัญ (Key Words) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการ ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร ให้ผู้ใช้คิดคำศัพท์ที่ต้องการและคิดว่าน่าจะมีในฐานข้อมูลมาใช้ในการสืบค้น
  2. ผู้แต่ง (Author) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  3. ชื่อบทความ (Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  4. ชื่อวารสาร (Journal Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อวารสาร
  5. หัวเรื่อง (Subject) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC MILLENNIUM และสืบค้นบัตรรายการออนไลน์ด้วยระบบ WebOPAC (Web Online Public Access Catalog) WebOPAC เป็นฐานข้อมูลการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลจาก หนังสือ วิทยานิพนธ์ โสตทัศน์วัสดุ วารสาร บทความวารสารและเอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ได้จากคอมพิวเตอร์บริการค้นข้อมูลภายในอาคารสำนักหอสมุดกลาง หรือสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://www.lib.ru.ac.th หรือเข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 1. เข้าสู่เว็บไซต์สำนักหอสมุดที่ http://www.lib.ru.ac.th เลือก Database Services คลิกเลือกที่
1. ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หรือ 2. ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร และเอกสาร
การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 2. เข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html
เลือกสืบค้นดรรชนีบทความวารสาร
การเข้าสู่หน้าจอสืบค้น

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาไทย

การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

การคัดเลือกและการจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

หนังสือ1.
การคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

          การคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรห้องสมุด โดยการจัดซื้อประกอบด้วย หนังสือภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้

          การคัดเลือกและสั่งซื้อหนังสือภาษาไทย

                    1.ประสานงานกับร้านค้าเสนอหนังสือเพื่อคัดเลือก

                    2.รับการเสนอแนะหนังสือจากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและผู้ใช้บริการ

                    3.แจ้งคณะทำงานคัดเลือกและเสนอแนะหนังสือใหม่

                    4.ตรวจสอบรายชื่อหนังสือกับฐานข้อมูลฯ

                    5.แจ้งร้านค้าทำใบเสนอราคา

                    6.ขออนุมัติจัดซื้อ/แนบใบเสนอราคา

                    7.แจ้งให้ร้านค้าส่งตัวเล่มหนังสือพร้อมเอกสาร

                    8.แจ้งกรรมการตรวจรับ ตรวจสอบความถูกต้อง

                    9.ส่งหลักฐานการสั่งซื้อให้งานการเงิน

                    10.บันทึกระเบียนบรรณานุกรมและระเบียนสั่งซื้อ

                    11.คัดแยกหนังสือเสริมใบรองปก

                    12.ประทับตรา/ลงเลขระเบียนบรรณานุกรม

                    13.พิมพ์รายชื่อหนังสือส่งฝ่ายวิเคราะห์ฯ

          การคัดเลือกและจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศ

                   1.คัดเลือก/จัดส่ง Catalog/รายชื่อหนังสือให้อาจารย์คัดเลือก

                   2.นำรายชื่อที่ได้มาตรวจสอบกับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

                   3.ติดต่อร้านค้าทำใบเสนอราคาและเปรียบเทียบราคา

                   4.ขออนุมัติจัดซื้อ

                   5.จัดทำใบสั่งซื้อให้ร้านค้าและแจ้งให้ร้านค้าส่งตัวเล่มพร้อมเอกสาร

                   6.แจ้งคณะกรรมการตรวจรับตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือ

                   7.ส่งหลักฐานการสั่งซื้อให้งานการเงิน

                   8.บันทึกระเบียนบรรณานุกรมและระเบียนการสั่งซื้อ

                   9.คัดแยกหนังสือเสริมใบรองปก

                   10.ประทับตรา/ลงเลขระเบียนบรรณานุกรม

                   11.แจ้งผลการสั่งซื้อ

                   12.พิมพ์รายชื่อหนังสือส่งฝ่ายวิเคราะห์ฯ

 

 80848-attachment

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
ชุมชน สรรค์สร้างความรู้

การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 2)

ขั้นตอน การจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารขึ้นชั้น

การจัดชั้นวารสาร คือ การจัดเก็บและรวบรวมตัวเล่มวารสารที่ผู้ใช้บริการนำออกมาอ่าน ไปจัดเรียงขึ้นชั้นไว้ที่เดิมตามชื่อวารสารหรือตัวเลขกำกับวารสารจากซ้ายไปขวาบนลงล่าง ที่ชั้นให้บริการวารสารจะมีป้ายบ่งชี้กำกับไว้ซึ่งแยกประเภท เป็นวารสารฉบับปัจจุบัน วารสารฉบับย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาตัวเล่มได้สะดวกและรวดเร็ว

ผังขั้นตอน การจัดเก็บ/จัดเรียงวารสารขึ้นชั้น

2556-09-19_08-journal
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การจัดเรียงวารสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นคว้าและบริการ (ตอนที่ 2)