การสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป (ตอนที่ 1)

ยูทูป (Youtube) คือ เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ที่เป็นวีดีโอ ซึ่งเนื้อหามีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวีดีโอโฆษณา มิวสิควีดีโอ รายการทีวีย้อนหลัง และคลิปวีดีโอสั้น ๆ ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป (ศตพล จันทร์ณรงค์, 2558) ให้บริการฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เปิดบริการเว็บไซต์ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดโดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปโดยง่าย ส่วนมากนิยมนำมาใช้เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการดำเนินการธุรกิจ เช่นเดียวกันกับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาในแง่ของการศึกษาหาความรู้ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน บันทึกเหตุการณ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น หรือเพื่อความบันเทิง ล้วนมีความหมายและคุณค่าหากมีวิธีการคัดเลือกและจัดเก็บ

ดังนั้น หน่วยจดหมายเหตุดิจิทัล จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของวีดิโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ Youtube จากเจ้าของหน่วยงานเป็นผู้เผยแพร่ หรือจากบุคคลทั่วไป โดยมีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหตุการณ์ กิจกรรมหรือบุคคลซึ่งมีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัย ให้คุณค่าต่อประวัติศาสตร์และการศึกษาค้นคว้าวิจัย จึงได้นำเสนอวิธีการการสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและเผยแพร่ความรู้ได้อีกด้วย

การสืบค้น

  1. การกำหนดคำค้น (Keyword) เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการสืบค้น และแหล่งข้อมูลที่จะทำการค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการต่อการนำมาใช้ประโยชน์ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการได้มาซึ่งข้อมูล โดยเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการจัดเก็บให้คำนึงถึงสิ่งที่สะท้อนพันธกิจ บทบาทภาระหน้าที่ของหน่วยงานในด้านต่าง ๆ
  2. เทคนิคการสืบค้น ใช้วิธีการสืบค้นการค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) การค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search) การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) และเครื่องหมายพิเศษอื่น ๆ

วิธีการสืบค้น

การสืบค้นอย่างง่าย (Basic search) คือ การสืบค้นขั้นพื้นฐาน สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำได้โดยใส่คำค้น (keyword) ที่เป็นประโยค คำ หรือวลี ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างคำค้น : เพลงมหาวิทยาลัยรามคำแหง

      1. ไปที่เว็บไซต์ www.youtube.com ปรากฏหน้าจอและใส่คำค้นลงไปในช่องสืบค้น และคลิก คลิกสืบค้น
        ใส่คำค้นลงไปในช่องสืบค้น

    อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นและจัดเก็บทรัพยากรจดหมายเหตุดิจิทัลจากยูทูป (ตอนที่ 1)

การค้นตัวเล่มวารสาร

  1. เมื่อพบรายการที่ต้องการแล้วให้จดชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี พ.ศ. เลขหน้า เพื่อนำไปค้นหาบทความต้นฉบับ
    ถ้าเป็นบทความภาษาต่างประเทศให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2 และบทความภาษาไทยให้ไปสืบค้นตัวเล่มได้ที่ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. หากมีปัญหาในการค้นตัวเล่มวารสารสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ ประจำเคาน์เตอร์บริการวารสาร
  3. หากต้องการบทความวารสารไปสำเนาเอกสาร ให้ผู้ใช้บริการกรอกรายละเอียดการยืมวารสาร กับเจ้าหน้าที่ ที่ประจำเคาน์เตอร์บริการ

รูปภาพประกอบในการสืบค้นบทความวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาต่างประเทศ ชั้น 1 อาคาร 2

ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2ห้องวารสารภาษาไทย ชั้น 2 อาคาร 2

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การค้นตัวเล่มวารสาร

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ทำด้วยวิธีการเดียวกับ การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาต่างประเทศ

วิธีการสืบค้นสามารถเลือกได้หลายช่องทาง ดังนี้

  1. คำสำคัญ (Key Words) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการ ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร ให้ผู้ใช้คิดคำศัพท์ที่ต้องการและคิดว่าน่าจะมีในฐานข้อมูลมาใช้ในการสืบค้น
  2. ผู้แต่ง (Author) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  3. ชื่อบทความ (Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อผู้แต่ง
  4. ชื่อวารสาร (Journal Title) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการทราบชื่อวารสาร
  5. หัวเรื่อง (Subject) ใช้เมื่อผู้ใช้บริการไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร

อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 2 บทความวารสารภาษาต่างประเทศ)

การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC MILLENNIUM และสืบค้นบัตรรายการออนไลน์ด้วยระบบ WebOPAC (Web Online Public Access Catalog) WebOPAC เป็นฐานข้อมูลการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลจาก หนังสือ วิทยานิพนธ์ โสตทัศน์วัสดุ วารสาร บทความวารสารและเอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ได้จากคอมพิวเตอร์บริการค้นข้อมูลภายในอาคารสำนักหอสมุดกลาง หรือสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://www.lib.ru.ac.th หรือเข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html

• การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 1. เข้าสู่เว็บไซต์สำนักหอสมุดที่ http://www.lib.ru.ac.th เลือก Database Services คลิกเลือกที่
1. ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หรือ 2. ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร และเอกสาร
การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น

ขั้นตอนที่ 2. เข้าใช้โดยตรงที่ http://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html
เลือกสืบค้นดรรชนีบทความวารสาร
การเข้าสู่หน้าจอสืบค้น

• ขั้นตอนการสืบค้น บทความวารสารภาษาไทย

การเข้าสู่หน้าจอการสืบค้น อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นบทความวารสารผ่าน Web OPAC สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ตอนที่ 1 บทความวารสารภาษาไทย)

การสืบค้นด้วยคำสำคัญ

การสืบค้นด้วยคำสำคัญ

                          โดย กลุ่ม คนสืบค้น (ชุมชนBangna variety)

080418clcddo080418clcddo

            การสืบค้นข้อมูลด้วยคำสำคัญ หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยค     การค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
            เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search) (มหาวิทยาลัยขอนแก่น .สำนักวิทยบริการ , 2555: ออนไลน์)
           การสืบค้นด้วยคำสำคัญ  ซึ่งอาจเป็นคำหรือวลีใดๆ ก็ได้ ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล อาจเป็นคำที่ปรากฏในส่วนของหัวเรื่อง หรือชื่อเรื่องของแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือ บทความต่าง ๆ จากวารสาร และรวมทั้งบทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ 
          การกำหนดคำค้น โดยเริ่มจากการวิเคราะห์คำถามของเรื่องที่ต้องการค้นหาว่าประเด็นหลักอะไรและเรื่องที่เกี่ยวข้อง  เพื่อระบุคำสำคัญที่จะใช้เป็นคำค้น
โดยทั่วไปมักใช้คำนามเป็นประเด็นหลักของเรื่องที่ต้องการ ในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวข้องจะเป็นส่วนที่ใช้จำกัดขอบเขตให้แคบลง
         การกำหนดคำที่ดีนั้นควรรู้จักปรับเปลี่ยนเพื่อให้การค้นหาประสบความสำเร็จโดยการกำหนดคำที่มีความหมายที่แคบกว่า และใช้คำค้น คำอื่นที่มีความหมายเหมือนกันในกรณีที่ใช้คำใดคำหนึ่งค้นหาแล้วไม่พบ
อ่านเพิ่มเติมคลิก >> การสืบค้นด้วยคำสำคัญ